RSS

กิจกรรมที่ 3

กิจกรรมที่ 3

1.จงอธิบายความหมายของการบริหารราชการ
2.จงอธิบายแนวคิด(หลักการ)เกี่ยวกับการบริหารราชการแต่ละรูปแบบ มาพอสังเขป
3.จงอธิบายบทบาทหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และ ส่วนท้องถิ่น มาพอสังเขป

 

7 responses to “กิจกรรมที่ 3

  1. นายชัชชัย สัทธยาสัย

    พฤษภาคม 21, 2011 at 7:23 PM

    เนื้อหาแนวคิด ความคิดเห็น ฯลฯ เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่น
    ชลอ วนะภูติ (2505 : หน้า 2) คำกล่าวที่สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของคนไทยที่มีต่อกำเนิดของการปกครองท้องถิ่นอย่างชัดแจ้งก็คือคำกล่าวที่ว่า “ เทศบาลของเราเกิดขึ้นโดยที่ราษฎรมิได้เรียกร้อง ราษฎรไม่รู้เรื่อง ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับการเกิดแบบฤษีชุบขึ้น คือ ตื่นเช้าขึ้นก็เห็นลูกมานอนอุแว๊อยู่ข้างตัวแล้ว การเกิดชนิดนี้ฉับพลันกว่าการเกิดแบบผ่าตัด หรือเกิดชนิดไม่ครบถ้วนทศมาสเพราะยังมีการตั้งท้อง อุ้มท้อง แพ้ท้อง ปวดท้อง และในที่สุดก็ออกมาจากท้องจริงๆ ยังมีความรักใคร่ใยดีกว่าลูกที่ฤษีชุบแล้วโยนมาให้เป็นอันมาก เพราะลูกเช่นนี้ภายหลังโตขึ้นแล้วชอบทรยศเสียบ่อยๆ ในชั้นแรกราษฎรตกใจมาก เมื่อเช้าวันหนึ่งอยู่ดีๆ ก็พบกับกุมารน้อยชื่อว่าเทศบาลนอนอยู่ข้างเตียง จะทิ้งเสียก็เวทนา จะเลี้ยงก็เลี้ยงไม่เป็นไม่รู้ตัวเพราะและไม่ได้เตรียมตัวมาเลี้ยงทารก จึงผะอืดผะอมเป็นที่สุดแล้ว เหมือนกินยาถ่ายแล้วไม่ได้ผล คาราคาซังตราบเท่าทุกวันนี้ ”
    บรรณานุกรม
    ชลอ วนะภูติ, “ โฉมหน้าเทศบาล, ” นิตยสารท้องถิ่น ปีที่ 2, เล่มที่ 3 (มีนาคม, 2505) (พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, 2505). หน้า 2 .
    ชุบ กาญจนประกร (2509 : 12. ) ได้ให้ความเห็นว่า ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดขอบเขตอำนาจขององค์การปกครองท้องถิ่นไว้ในวงที่จำกัด สิ่งใดที่อยู่นอกเหนืออำนาจขององค์การปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทยก็จะกำหนดให้เป็นอำนาจของข้าราชการ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับองค์การปกครองท้องถิ่น เช่นผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้กำหนดให้ราชการของกระทรวงมหาดไทยทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีอำนาจตรวจสอบกิจการขององค์การปกครองท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย อำนาจดังกล่าว ทำให้ข้าราชการเหล่านี้เป็นผู้ที่มีอิทธิพลหรือมีรัศมีเหนือองค์การปกครองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ขององค์การปกครองท้องถิ่นต้องเชื่อฟังคำแนะนำ หรือข้อสังเกตต่างๆ ด้วยความเคารพ ในเรื่องนี้มีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “เทศบาลเมืองไทยแตกต่างอย่างสำคัญกับเทศบาลนานาอารยประเทศในข้อนี้กระการหนึ่ง ซึ้งแสดงให้เห็นโดยปริยายถึงปัญหาของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเมืองไทย เฉพาะอย่างยิ่ง คุณค่าของความเป็นคนที่แตกต่างกัน ระหว่างข้าราชการกับประชาชนหรือความแตกต่างกันของคุณค่านิยม ระหว่างสถาบันของราชการส่วนกลางกับสถาบันของการปกครองท้องถิ่นของประชาชน ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องชี้ให้เห็นความแตกต่างกันของคุณค่านิยม ระหว่างการเป็นข้าราชการของรัฐบาล และการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นของเทศบาล เพราะจะยิ่งเป็นเรื่องกระเทือนใจยิ่งขึ้น และเป็นเรื่องที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว”
    บรรณานุกรม
    ชุบ กาญจนประกร, “อุดมคติและการดำเนินการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย,” บทความและรายงานการสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น (พระนคร : โรงพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2509), หน้า12.
    จอร์ช ล็องโกร ( 1953 : 26 – 31) กล่าวว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องของรัฐ-ชาติ ทั่วทั้งรัฐ และมีการปกครองโดยคนส่วนใหญ่ ความเท่าเทียมกัน และความเป็นเอกภาพ แต่การปกครองตนเองในระดับท้องถิ่นนั้นมีลักษณะคับแคบ เกี่ยวพันกับความแตกต่างระหว่างเขตต่างๆและลัทธิแบ่งแยกดินแดน
    บรรณานุกรม
    Georges Langrod, “ Local Government and Democracy ”, Public Administration. Vol.31 (Spring 1953), pp. 26-31
    Public-choice approach เสนอว่ารสนิยมของคนหลากหลายนั้นจะต้องได้รับการสนองด้วยสินค้าและบริการอันหลากหลายเช่นกัน และประชาชนก็ควรมีสิทธิได้รับรู้ด้วยว่ามีสินค้าและบริการของเอกชนกับสินค้าและบริการขององค์กรปกครองท้องถิ่นก็คือ อย่างหลังนั้นสนองให้กับสมาชิกทุกคนในท้องถิ่นนั้นๆ แต่อย่างแรกขึ้นอยู่กับว่าใครอยากซื้อและมีเงินพอหรือไม่ ประเด็นสำคัญของแนวคิดนี้ก็คือ การปกครองท้องถิ่นจะให้หลักประกันว่าการจะมีการให้สินค้าและบริการแก่ท้องถิ่น ในกรณีที่การทำงานแบบอาสาสมัครขาดประสิทธิภาพ และโดยอาศัยระบบการเลือกตั้งและมาตรการทางการเมืองอย่างอื่น รสนิยมของประชาชนก็จะได้รับการเผยแพร่ให้ฝ่ายต่างๆได้ทราบ
    บรรณานุกรม
    R.L. Bish and V.Ostrom, Understanding Urban Government (Washington,D.C.: American Enterprice Institute for Public Policy Research), 1973

    ธเนศวร์ เจริญเมือง (2537 : 223-226) กล่าวว่า นักวิชาการที่สนับสนุนการกระจายอำนาจก็เห็นว่า การไม่เท่ากันอาจมีจริง แต่การกระจายอำนาจจะทำให้อภิสิทธ์และการเอาเปรียบลดน้อยลงในระยะยาว ในขณะที่การรวมศูนย์อำนาจไม่ก่อให้เกิดความเสมอภาคทางการเมืองได้
    บรรณานุกรม
    ธเนศวร์ เจริญเมือง, “ บ้านเมืองจะพัฒนาหากผู้ว่ามาจากการเลือกตั้ง,” บรรณาธิการ.เลือกตั้งผู้ว่า (เชียงใหม่ : โครงการศึกษาการปกครองท้องถิ่นคณะสังคมศาสตร์ มช.,2537).หน้า223-226

     
    • นาย สัญชัย เชิดชมกลิ่น เลขที่ 60

      พฤษภาคม 27, 2011 at 7:27 PM

      เนื้อหาแนวคิด ความคิดเห็น เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นจากแนวคิดนักศึกษา นักการเมือง สื่อ จากทั้งและในประเทศและต่างประเทศ
      อุทัยหิรัญโต (2523, 2) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น คือ การปกครองที่ รัฐบาล มอบอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งจัดการปกครองและดำเนินการบางอย่าง โดยดำเนินการกันเองเพื่อบำบัดความด้องการของตน การบริหารงานของท้องถิ่นมีการจัด การเป็นองค์การ มีเจ้าหน้าที่ซึ่งประชาชนเลือกดังขึ้นมาทั้งหมด หรือบางส่วน ทั้งนี้มีความ เป็นอิสระในการบริหารงาน แต่รัฐบาลต้องควบคุมด้วยวิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสมจะ ปราศจากการควบคุมของรัฐหารได้ไม่ เพราะการปกครองท้องถิ่นเป็นสิ่งที่รัฐทำให้เกิดขึ้น
      บรรณานุกรม
      แนวคิดเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น. เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นอุทัยหิรัญโต (2523, 2) พิมพ์ครั้งที่ 11
      ชุบ กาญจนประกร ได้ให้ความเห็นว่าได้ให้ความเห็นว่ากระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดอำนาจขององค์การปกครองท้องถิ่นไว้ในวงที่จำกัดยิ่งไปกว่านั้นยังได้กำหนดให้ราชการของกระทรวงมหาดไทยทั้งส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาคมีอำนาจตรวจสอบกิจการขององค์การปกครองท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย อำนาจดังกล่าว ทำให้ข้าราชการเหล่านี้เป็นผู้ที่มีอิทธิพลหรือมีรัศมีเหนือองค์การปกครองท้องถิ่น เทศบาลเมืองไทยแตกต่างกับเทศบาลนานาอารยประเทศชี้ให้เห็นความแตกต่างกันของคุณค่านิยมระหว่างการเป็นข้าราชการของรัฐบาลกับการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
      บรรณานุกรม
      ชุบ กาญจนประกร, การปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยและอุดมคติ โรงพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2509),
      วิท (Wit 1967,101-103) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองที่รัฐบาล กลางให้อำนาจ หรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นเพื่อเปิด โอกาสให้ ประชาชนในท้องถิ่นได้มีอำนาจในกาปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนในการบริหารท้องถิ่น ตามหลักการที่ว่าถ้าอำนาจการปกครองมาจากประชาชนในท้องถิ่น แล้วรัฐบาลของท้องถิ่นก็ย่อมเป็นรัฐบาลของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน ดังนั้นการบริหารการปกครองท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีองค์กรของตนอง อันเกิดจากการ กระจายอำนาจของรัฐบาลกลาง โดยให้องค์กรอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลกลางมี อำนาจในการตัดสินใจและบริหารงานภายในท้องถิ่นในเขตอำนาจของตน
      บรรณานุกรม
      ปีที่พิมพ์ : 2554 หน้า (101-103)

       
  2. เฉลิมชัย โภคพิพัฒน์ รหัสนักศึกษา 5117442007

    พฤษภาคม 28, 2011 at 3:05 PM

    จรัส สุวรรณมาลา (2542.104) กล่าวว่า คุณสมบัติของหน่วยจัดบริการที่เหมาะสมนั้น คือ “หลักความรับผิดชอบทางการเมือง” ซึ่งหมายความว่าบริการใดๆ ที่ชุมชนในระดับล่างสุดสามารถร่วมกันรับผิดชอบร่วมกันในกระบวนการจัดผลิต วางแผน และการหารายได้มาใช้จ่ายในการจัดบริหารฯ รวมทั้งควบคุมตรวจสอบคุณภาพของการผลิตบริการฯ ภายในชุมชนของตนเองได้อย่างสมบูรณ์ ก็ควรกำหนดให้เป็นหน้าที่ของชุมชนในระดับล่างสุด ในการจัดบริการสาธารณะในประเภทนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการบริการฯในเรื่องนั้นๆเป็นของชุมชน ดำเนินการโดยชุมชน และรับผิดชอบต่อชุมชนโดยสมบูรณ์
    บรรณานุกรม จรัส สุวรรณมาลา. (2542).รัฐบาล-ท้องถิ่น ใครควรจัดบริการสาธารณะ.พิมพ์ครั้งที่ 1.สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สวก.).

    เอนก เหล่าธรรมทัศน์(2543.36-37) กล่าวว่า การกระจายอำนาจนี้ เป็นผลงานของรัฐบาล ซึ่งผมคิดว่าสำคัญควรจะมองว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นที่สมบูรณ์จะเป็นเครื่องมือที่ประชาชนช่วยตนเอง พึ่งตนเอง และดูแลบ้านเมืองของตนเองได้มากขึ้น ผมย้ำคำว่าเครื่องมือก็เพราะนิทานจีนที่เล่าว่า การช่วยคนทุกข์คนจนนั้นช่วยได้สองทาง ทางหนึ่งก็คือ เอาข้าวปลาไปให้เขากิน และก็เลี้ยงดูเขาไปเรื่อยๆตลอดชีวิต อีกทางหนึ่งคือสอนให้เขาทำนา สอนให้เขาตกปลา ทอดแห เขาก็จะพึ่งตนเองได้ เขาก็จะภาคภูมิใจในตนเองด้วย คนที่รับความช่วยเหลือจากคนอื่นอย่างเดียว ไม่มีความภาคภูมิใจในชีวิตหรอก
    บรรณานุกรม เอนก เหล่าธรรมทัศน์.(2543).วิสัยทัศน์การปกครองท้องถิ่นและแผนการกระจายอำนาจ.พิมพ์ครั้งที่ 1.สำนักพิมพ์มิติใหม่.

    เฉลิมชัย โภคพิพัฒน์ รหัสนักศึกษา 5117442007

     
  3. นางสาวสุภารัตน์ กลิ่นศรีสุข เลขที่ 16 เอกพัฒนาชุมชน รุ่น 35

    พฤษภาคม 29, 2011 at 10:39 AM

    วัชระ เเก้วกำเนิด (2554:42-43) ได้ให้สาระสำคัญว่าจากนิยามต่างๆ สามารถประมวลเป็นหลักการปกครองท้องถิ่นไต้สาระสำคัญดังนี้
    1. การปกครองของชุมชนหนึ่ง ซึ่งชุมชนเหล่านั้นอาจมีความแตกต่างกันในด้าน ความเจริญ จำนวนประชากรหรือขนาดของพื้นที่ เช่น หน่วยการปกครองท้องถิ่นของไทย จัดเป็นกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยาตามเหตุผลดังกล่าว
    2. หน่วยการปกครองท้องถิ่นจะต้องมีอำนาจอิสระ (Autonomy) ในการปฏิบัติ หน้าที่ตามความเหมาะสม กล่าวคือ อำนาจของหน่วยการปกครองท้องถิ่นจะต้องมี ขอบเขตพอควร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยการปกครองท้องถิ่น อย่างแท้จริง หากมีอำนาจมากเกินไปไม่มีขอบเขต หน่วยการปกครองท้องถิ่นนั้นจะ กลายสภาพเป็นรัฐอธิปไตยเอง เป็นผลเสียต่อความมั่งคงของรัฐบาล อำนาจของท้องถิ่น นี้มีขอบเขตที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะความเจริญและความสามารถของประชาชน ในท้องถิ่นนั้นเป็นสำคัญ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลในการพิจารณาการกระจายอำนาจ ให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นระดับใดจึงจะเหมาะสม
    3. หน่วยการปกครองท้องถิ่นจะต้องมีสิทธิตามกฎหมาย (Legal Rights) ที่จะดำเนิน การปกครองตนเอง สิทธิตามกฎหมายแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
    3.1 หน่วยการปกครองท้องถิ่นมีสิทธิที่จะตรากฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ ต่างๆ ขององค์การปกครองท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการบริหารตามหน้าที่และเพื่อใช้ข้อง บังคับประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น เทศบัญญัติ ข้องบังคับ สุขาภิบาล เป็นต้น
    3.2 สิทธิที่เป็นหลักในการดำเนินการบริหารท้องถิ่น คือ อำนาจในการกำหนด งบประมาณเพื่อบริหารกิจการตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ
    4. มีองค์กรที่จำเป็นในการบริหารและการปกครองตนเอง องค์กรที่จำเป็นของ ท้องถิ่นจัดแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ องค์กรฝ่ายบริหาร และองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น การ ปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลจะมีคณะเทศมนตรีเป็นฝ่ายบริหาร และเทศบาลเป็นฝ่าย นิติบัญญัติ หรือในแบบมหานคร คือกรุงเทพมหานครจะมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นฝ่ายบริหารสภากรุงเทพมหานครจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น
    5. ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น จากแนวความคิดที่ว่า ประชาชนในท้องถิ่นเท่านั้นที่จะรูปัญหาและวิธีการแก้ไขของตนเองอย่างแท้จริง หน่วย การปกครองท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องเป็นคนในท้องถิ่นมาบริหารงานเพื่อให้สมเจตนารมณ์ และความต้องการของชุมชนและอยู่ภายใต้การควบคุมของประชาชนในท้องถิ่น นอกจาก นั้นยังเป็นการแก่ให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าใจในระบบและกลไกของประชาธิปไตย อย่างแท้จริงอีกด้วย
    บรรรณานุกรม
    วัชระ เเก้วกำเนิด.(2554)รัฐศาสตร์ แนวความคิด สภาวะผู้นำท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่1. เอกสารโครงการผู้นำท้องถิ่น จ.สิงห์บุรี ม.เทพสตรีสิงห์บุรี
    ……………………………………………………………………………
    เดเนียล วิท (Daniel wit,1967:14-21) อ้างถึงชูวงศ์ ฉายะบุตร,2539:11)นิยามว่าการปกครองท้องถิ่นหมายถึง การปกครองที่รัฐบาลกลาง ให้อำนาจหรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีอำนาจในการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือ เป็นบางส่วนในการบริหารท้องถิ่น ตามหลักการท่าถ้าอำนาจการปกครองมาจากประชาชนในท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลขอท้องถิ่นก็ยอมมาเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน.
    บรรณานุกรม
    ชูวงศ์ ฉายะบุตร.(2539).การปกครองท้องถิ่นไทย.กรุงเทพฯ:กรมการปกครอง
    ……………………………………………………………………………
    วิลเลี่ยม เอ.ร๊อบสัน(William A. Robson,1953:574 อ้างถึงในประหยัด หงษ์ทองคำ,2523:10) ให้ความหมายว่า การปกครองท้องถิ่นคือการปกครองส่วนหนึ่งของประเทศจึงมีอำนาจอิสระ(Automy)ในการปฎิบัติหน้าที่ตามสมควรอำนาจอิสระในการปฎิบัติหน้าที่จะต้องไม่มากจนมีผลกระทบกระเทือนต่ออำนาจอธิไตยของรัฐ เพราะองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นมิใช่ชุมชนที่มีอำนาจอธิปไตยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิตามกฎหมาย(Leagal Rights) และมีองค์กรที่จำเป็น(Necessary Organiztion)เพื่อประโยชน์ในการปฎิบัติหน้าที่ของค์กรการปกครองท้องส่วนถิ่นนั่นเอง
    บรรณานุกรม
    ประหยัด หงษ์ทองคำ,(2523).การปกครองท้องถิ่นไทย.กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพาณิช.

     
  4. นเจษฎาพร จรจันทร์ เลขที่ 3 เอกพัฒนาชุมชน รุ่น 35

    พฤษภาคม 29, 2011 at 10:44 AM

    ศิริ พรมดี , 2546 หน้า 16 ถ้าพิจารณาแล้วแนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นแล้วจะเห็นว่านักวิชาการได้ความหมายของปกครองท้องถิ่นไว้แตกต่างกัน ศิริ พรมดีสรุปแนวคิด ทฤษฎีว่าด้วยการปกครองท้องถิ่นไว้ 6 ทฤษฎีได้แก่ ทฤษฎีเกี่ยวกับสังคมวิทยา ทฤษฎีเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมาย ทฤษฎีเกี่ยวกับการเมืองและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหาร
    1 ทฤษฎีเกี่ยวกับสังคมวิทยา
    ปัจจัยทางสังคมวิทยามีอิทธิพลต่อการปกครองท้องถิ่นในอันที่จะเสริมสร้างจิตสำนึกและความรู้สึกร่วมกันในการพัฒนาท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้นทฤษฎีสังคมวิทยาที่อธิบายการปกครองท้องถิ่นในแต่ละแห่งนั้นด้วยโดยพยามมุ่งเน้นความรู้สึกผูกพันในพื้นที่นั้นมักจะเกิดขึ้นมาจากบุคคลในพื้นที่นั้นหรืออาจกล่าวได้ว่าการปกครองท้องถิ่นที่เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การในการปกครองท้องถิ่นให้มากที่สุด
    2 ทฤษฎีเกี่ยวกับเศรษฐกิจ
    ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการปกครองท้องถิ่นอันที่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหา และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นกล่าวคือจะเห็นว่าประชาชนในท้องถิ่นจะมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันไปตามลักษณะและสภาพชุมชนนั้น ๆ เช่นในกรณีที่มีสภาพท้องถิ่นเป็นชุมชนบทก็จะมีผลทำให้ประชาชนมีวิถีชีวิตค่อนข้างยากจนขาดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ แต่พิจารณาในสภาพชุมชนเมืองจะเป็นไปตามแบบตัวใครตัวมันซึ่งผลทำให้ลักษณะและประเภทปัญหาแตกต่างกันไป
    3 ทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิศาสตร์
    จะมีอิทธิพลต่อการจัดรูปแบบและโครงสร้างของการบริหารการปกครองท้องถิ่นแต่ละแห่งแตกต่างกันคือในกรณีที่อณาเขตกว้างขวางแต่จะมีประชากรน้อย
    4 ทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมาย
    ในการจัดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในฐานะนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งโดยกฎหมายซึ่งแยกจากรัฐบาลหรือส่วนกลางมีขอบเขตการปกครองที่แน่นอนมีคณะบริหารได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนโดยตรงการบริหารไปตามการปกครองกฎหมายกำหนด
    5 ทฤษฎีเกี่ยวกับการเมือง
    การบริหารปกครองท้องถิ่นจะเกี่ยวข้องการจัดสรรประโยชน์และคุณค่าทางสังคมอย่างเป็นธรรมคือมีลักษณะที่เป็นกระบวนการแสวงหาและการใช้อำนาจในท้องถิ่นซึ่งคณะผู้บริหารของหน่วยการปกครองท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งมาจากประชาชนได้แก่การเลือกตั้งกิจกรรมเกี่ยวกับพรรคการเมืองจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์การแสดงความคิดเห็นของประชาชนแนวคิดดังกล่าวมีผลในการบริหารปกครองท้องถิ่นเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทางการเมืองระดับชาติต่อไป
    6 ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหาร
    การบริหารการปกครองท้องถิ่นในอีกแง่มุมหนึ่งก็อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคือมีการจัดองค์การเกิดขึ้นตามแบบกฎหมายซึ่งการบริหารมาประยุกต์ใช้ในอันที่จะบริหารงานของหน่วยการปกครองท้องถิ่นให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้อย่างมีประสิทธิภาพ
    บรรณานุกรม
    ศิริ พรมดี (2546) การปกครองท้องถิ่นไทย
    กรุงเทพ : วัญญูชน
    แนวคิด ทฤษฎีว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น
    เอ็ม เอ มุตตอลิปและ(โมฮัมหมัด อัคบัร อาลี ข่าน 1982 : 2-19)
    เสนอแนวคิดว่าด้วยการปกครองท้องถิ่นเกี่ยวกับมิติต่าง ๆ หลายมิติดังนี้
    1 มิติทางสังคม
    คือการปกครองท้องถิ่นเป็นการรวมกลุ่มของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้สภาพสังคมและเศรษฐกิจเฉพาะที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น
    2 มิติทางเศรษฐกิจ
    คือการปกครองท้องถิ่นจะช่วยนำไปสู่การกระจายอำนาจในทางเศรษฐกิจลดการแทรกแซงของส่วนกลางในการวางแผนและพัฒนาความก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจแต่ละท้องถิ่นย่อมนำมาสู่ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชาติ
    3 มิติทางภูมิศาสตร์
    คือการปกครองท้องถิ่นประชาชนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งย่อมมีจิตสำนึกความคิดที่ต่างจากพื้นที่อื่นในประเทศเดียวกันย่อมมองเห็นผลประโยชน์ตนรับแตกต่างจากชุมชน
    4 มิติกฎหมาย
    คือองค์กรแหครองท้องถิ่นมีหน่วยงานรัฐทำหน้าที่ตัวแทนผลประโยชน์สาธารณะในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งด้านอำนาจอธิปไตยของรัฐ
    5 มิติทางกฎหมาย มิตินี้นับว่ามีความสำคัญที่สุดของการปกครองท้องถิ่นมีหน่วยงานต่าง ๆ ทำหน้าที่แบ่งเบาภาระของภาครัฐในส่วนกลาง
    6 มิติทางการบริหาร คือการปกครองท้องถิ่นการบริหารองค์กรมีส่วนผสมร่วมกันของการเมือง
    บรรณานุกรม
    ดร.บูฆอรี ยีหมะ (2550) การปกครองท้องถิ่นไทยพิมพ์ครั้งที่ 1
    กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาลัย

     
  5. นาย ชวลิต ศรีสวัสดิ์

    มิถุนายน 3, 2011 at 4:40 PM

    กิจกรรมที่ 3 การปกครองท้องถิ่นไทย
    การปกครองท้องถิ่นคือรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย (Basic Democracy) เพราะการปกครองท้องถิ่นจะเป็นสถาบันฝึกสอนการเมืองการปกครองให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนรู้สึกว่าตนมีความเกี่ยวพันกับส่วนได้ส่วนเสียในการปกครอง การบริหารท้องถิ่น เกิดความรับผิดชอบ และหวงแหนต่อประโยชน์อันพึงมีต่อท้องถิ่นที่ตนอยู่อาศัย อันจะนำมา ซึ่งความศรัทธาเลื่อมใสในระบอบการปกครองประชาธิปไตยในที่สุด (ชูศักดิ์ เที่ยงตรง, 2518 : 6-7) โดยประชาชนจะมีโอกาสเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร การเลือกตั้งจะเป็นการฝึกฝน ให้ประชาชนใช้ดุลพินิจเลือกผู้แทนที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไปบริหารกิจการ ของท้องถิ่น นับได้ว่าเป็นผู้นำในท้องถิ่นจะได้ใช้ความรู้ความสามารถบริหารงานท้องถิ่น เกิดความคุ้นเคยมีความชำนิชำนาญในการใช้สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง ซึ่งจะนำไปสู่การมี ส่วนร่วมทางการเมืองในระดับชาติต่อไป

    บรรณานุกรม

    ชูศักดิ์ เที่ยงตรง, (2518) .การบริหารการปกครองท้องถิ่นของไทย. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

    (อนันต์ อนันตกูล, 2521 : 6-7) การปกครองท้องถิ่นทำให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักการปกครองตนเอง (Self Government) หัวใจของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประการหนึ่งก็คือ การปกครองตนเองมิใช่เป็น การปกครองอันเกิดจากคำสั่งเบื้องบน การปกครองตนเองคือ การที่ประชาชนมีส่วนร่วม ในการปกครอง ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นนอกจากจะได้รับเลือกตั้งมาเพื่อรับผิดชอบบริหารท้องถิ่น โดยอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจจากประชาชนแล้ว ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องฟังเสียง ประชาชนด้วยวิถีทางประชาธิปไตยต่าง ๆ เช่น เปิดโอกาสให้ประชาชนออกเสียงประชามติ (Referendum) ให้ประชาชนมีอำนาจถอดถอน (Recall) ซึ่งจะทำให้ประชาชนเกิดความสำนึก ในความสำคัญของตนต่อท้องถิ่น ประชาชนจะมีส่วนรับรู้ถึงอุปสรรคปัญหาและช่วยกันแก้ไข ปัญหาของท้องถิ่นของตน

    บรรณานุกรม

    อนันต์ อนันตกูล, (2521). การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.

    การปกครองท้องถิ่นสอดคล้องกับแนวความคิดในการพัฒนาชนบท แบบพึ่งตนเอง การปกครองท้องถิ่นโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ ทำให้เกิดการพัฒนาชนบท แบบพึ่งตนเองทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การดำเนินงานพัฒนาชนบท ที่ผ่านมายังมีอุปสรรคสำคัญประการหนึ่ง คือ การมีส่วนร่วมจากประชาชน ในท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ซึ่งการพัฒนาชนบทที่สัมฤทธิ์ผลนั้น จะต้องมาจากการริเริ่มช่วยตนเอง ของท้องถิ่น ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมแรงกัน โดยอาศัยโครงสร้างความเป็นอิสระ ในการปกครองตนเอง ซึ่งต้องมาจากการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง มิเช่นนั้นแล้ว การพัฒนาชนบทจะเป็นลักษณะ “หยิบยื่นยัดใส่ หรือกึ่งหยิบยื่นยัดใส่” เกิดความคาดหวัง ทุกปีจะมี “ลาภลอย” แทนที่จะเป็นผลดีต่อท้องถิ่นกลับสร้างลักษณะการพัฒนาแบบพึ่งพา ไม่ยอมช่วยตนเอง อันเป็นผลทางลบต่อการพัฒนาพื้นฐานระบอบประชาธิปไตย (ลิขิต ธีรเวคิน, 2528 : 3-4) ดังนั้นการกระจายอำนาจจึงจะทำให้เกิดลักษณะการพึ่งตนเอง ซึ่งเป็นหลักสำคัญ ของการพัฒนาชนบทอย่างยิ่ง

    บรรณานุกรม

    ลิขิต ธีรเวคิน, (2528) .การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น : อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก.

    กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

     
  6. ทศพร ผลศรัทธา

    มิถุนายน 4, 2011 at 6:01 AM

    อุทัย หิรัญโต (2523 : 2) นิยามว่าการปกครองท้องถิ่น คือ การปกครองที่รัฐบาลมอบอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งจัดการปกครองและดำเนินกิจการบางอย่าง โดยดำเนินกันเองเพื่อบำบัดความต้องการของตน การบริหารงานของท้องถิ่นมีการจัดเป็นองค์การ มีเจ้าหน้าที่ซึ่งประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาทั้งหมด หรือบางส่วน ทั้งนี้มีความเป็นอิสระในการบริหารงาน แต่ รัฐบาลต้องควบคุมด้วยวิธีต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จะปราศจากการควบคุมของรัฐหาได้ไม่ เพราะการปกครองท้องถิ่นเป็นสิ่งที่รัฐทำให้เกิดขึ้น
    บรรณานุกรม อุทัย หิรัญโต(2523).การปกครองท้องถิ่น.โอเดียนสโตร์ , กรุงเทพฯ .

    เดเนียล วิท (Danial Wit, 1967 : 101-103) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองที่รัฐบาลกลางให้อำนาจ หรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีอำนาจการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนในการบริหารท้องถิ่นตามหลักการที่ว่าถ้าอำนาจการปกครองมาจากประชาชนในท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลของท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีองค์กรของตนเอง อันเกิดจากการกระจายอำนาจของรัฐบาลกลาง โดยให้องค์กรอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล มีอำนาจในการตัดสินใจและบริหารงานภายในเขตอำนาจของตน
    บรรณานุกรม อุทัย หิรัญโต(2523).การปกครองท้องถิ่น.โอเดียนสโตร์ , กรุงเทพฯ .

    วิลเลี่ยม วี. ฮอลโลเวย์ (William V. Holloway, 1959 : 101-103) นิยามว่าการปกครองท้องถิ่นหมายถึง องค์การที่มีอาณาเขตแน่นอน มีประชากรตามหลักที่กำหนดไว้ มีอำนาจการปกครองตนเอง มีการบริหารการคลังของตนเอง และมีสภาท้องถิ่นที่สมาชิกได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน
    บรรณานุกรม อุทัย หิรัญโต(2523).การปกครองท้องถิ่น.โอเดียนสโตร์ , กรุงเทพฯ . 206 หน้า

    วินเลี่ยม เอ. ร๊อบสัน (William A. Robson, 1953 : 574) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง หน่วยการปกครองซึ่งรัฐได้จัดตั้งขึ้นและให้มีอำนาจปกครองตนเอง (Autonomy) มีสิทธิตามกฎหมาย (Legal Rights) และต้องมีองค์กรที่จำเป็นในการปกครอง (Necessary Organization) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้สมความมุงหมายของการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ
    บรรณานุกรม อุทัย หิรัญโต(2523).การปกครองท้องถิ่น.โอเดียนสโตร์ , กรุงเทพฯ .

    วิท (Wit 1967,101-103) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองที่รัฐบาล กลางให้อำนาจ หรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ ประชาชนในท้องถิ่นได้มีอำนาจในการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนใน การบริหารท้องถิ่น ตามหลักการที่ว่าถ้าอำนาจการปกครองมาจากประชาชนในท้องถิ่น แล้วรัฐบาลของท้องถิ่นก็ย่อมเป็นรัฐบาลของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน ดังนั้นการบริหารการปกครองท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีองค์กรของตนอง อันเกิดจากการ กระจายอำนาจของรัฐบาลกลาง โดยให้องค์กรอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลกลางมี อำนาจในการตัดสินใจและบริหารงานภายในท้องถิ่นในเขตอำนาจของตน
    บรรณานุกรม อุทัย หิรัญโต(2523).การปกครองท้องถิ่น.โอเดียนสโตร์ , กรุงเทพฯ .

    ฮอลโลเวย์ (Holloway 1951, 101-103) นิยามว่าการปกครองท้องถิ่น หมายถึง องค์การที่มีอาณาเขตแน่นอน มีประชากรตามหลักที่กำหนดไว้ มีอำนาจการปกครอง ตนเอง มีการบริหารการคลังของตนเอง และมีสภาท้องถิ่นที่สมาชิกได้รับการเลือกตั้งจาก ประชาชน
    บรรณานุกรม อุทัย หิรัญโต(2523).การปกครองท้องถิ่น.โอเดียนสโตร์ , กรุงเทพฯ .
    คลาร์ก (Clark 1957, 87-89) ให้คำนิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง หน่วย การปกครองที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่หนึ่งที่ พื้นที่ใดโดยเฉพาะ และหน่วยหารปกครองดังกล่าวนี้จัดตั้งและจะอยู่ในความดูแลของ รัฐบาลกลาง
    บรรณานุกรม ธเนศวร์ เจริญเมือง, (2550) “การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น : อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก”. กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

    มอนตากู (Mongtagu 1984, 574) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่นหมายถึง การ ปกครองซึ่งหน่วยการปกครองท้องถิ่นได้มีการเลือกตั้งโดยอิสระ เพื่อเลือกผู้ที่มีหน้าที่ บริหารการปกครองท้องถิ่นมีอำนาจอิสระ พร้อมความรับผิดชอบซึ่งตนสามารถที่จะใช้ ได้ โดยปราศจากการควบคุมของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค แต่ทั้งนี้หน่วยการปกครองท้องถิ่นยังต้องอยู่ภายใต้บทบังคับว่าด้วยอำนาจสูงสุดของ ประเทศไม่ได้กลายเป็นรัฐอิสระใหม่แต่อย่างใด
    บรรณานุกรม ชูวงศ์ ฉายะบุตร, (2539) “การปกครองท้องถิ่นไทย”. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.

    ซัดดี้ (Sady อ้างถึงใน อุทัย หิรัญโต 2523, 4) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง หน่วยการปกครองทางการเมืองที่อยู่ในระดับต่ำจากรัฐ ซึ่งก่อตั้งโดยกฎหมาย และอำนาจอย่างเพียงพอที่จะทำกิจกรรมในท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง รวมทั้งอำนาจจัดเก็บภาษี เจ้าหน้าที่ของหน่วยการปกครองท้องถิ่นดังกล่าวอาจได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งโดย ท้องถิ่นก็ได้
    บรรณานุกรม อุทัย หิรัญโต(2523).การปกครองท้องถิ่น.โอเดียนสโตร์ , กรุงเทพฯ .

    ประทาน คงฤทธิศึกษากร(2524) นิยามว่าการปกครองท้องถิ่นเป็นระบบ การปกครองที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระจายอำนาจทางการปกครองของรัฐ และโดย นัยนี้จะเกิดองค์การทำหน้าที่ปกครองท้องถิ่นโดยคนในท้องถิ่นนั้นๆ องค์การนี้จัดตั้ง และถูกควบคุมโดยรัฐบาล แต่ก็มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและควบคุมให้มีการ ปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายของตนเอง
    บรรณานุกรม ประทาน คงฤทธิศึกษากร, (2524) “การปกครองท้องถิ่น”. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

     

ใส่ความเห็น