RSS

กิจกรรมที่ 1 สำหรับปี 4 หมู่ที่1 และ 4

กิจกรรมที่ 1 

         ให้นักศึกษาค้นคว้า แนวคิดเกี่ยวกับการเมือง  (ใคร กล่าวถึง การเมืองไว้ว่าอย่างไร)  ตัวอย่างเช่น   
 
         อริสโตเติล (อ้างใน วรเดช จันทรศร,2544หน้า 50) กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ  โดยเป็นการต่อสู้กันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพลในการบริหารบ้านเมือง…
    
          หรือ   ทินพันธ์  นาคะตะ (2543:185-186) กล่าวว่า  การปกครองระบอบประชาธิปไตยนี้  ถือว่า  อำนาจหน้าที่อันชอบธรรมในการปกครองนั้น จะต้องมาจากประชาชน  หรือได้รับความนิยมจากประชาชน   . 
 

บรรณานุกรม

          วรเดช  จันทรศร,(2544),ปรัชญาการบริหารงานภาครัฐ,กรุงเทพ : สหายบล็อกและการพิมพ์.

หมายเหตุ***การส่งงานต้องไม่ซ้ำ คน(นักวิชาการ) หนังสือต้องไม่ซ้ำเล่ม  และข้อมูลต้องไม่ซื้อกัน   ส่งทางเวปไซค์  www.ajaniew.wordpress.com   หมดเขตส่งวันศุกร์ 10  มิถุนายน 54 นี้เท่านั้น!!!

 

79 responses to “กิจกรรมที่ 1 สำหรับปี 4 หมู่ที่1 และ 4

  1. ชัยชิต พานทอง หมู่ 4 รปศ. 5117444010

    มิถุนายน 8, 2011 at 6:20 PM

    นาย ชัยชิต พานทอง หมู่ 4 รปศ. 5117444010

    พลาโต (427-346 ก่อน ค.ศ.) นิยามการเมืองว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับญัตติทั้งหลายที่มีผลต่อชุมชนทั้งหมด ปราชญ์กรีกเน้นความแตกต่างของประโยชน์ “สาธารณะ” และประโยชน์ “ส่วนบุคคล” และถือว่าสาธารณประโยชน์เป็นส่วนที่เป็นการเมือง โดยเฉพาะในแง่ศีลธรรมแล้วสาธารณประโยชน์มีค่าสูงกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล

    บรรณานุกรม

    พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. 2524. รัฐศาสตร์ : พัฒนาการและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศรีอนันต์.

     
  2. Nongair Lamelak

    มิถุนายน 9, 2011 at 10:21 AM

    น.ส.สุจินดา แหลมหลัก รปศ. ปี 4 หมู่ 4 รหัส 5117444044

    เพนนอคและสมิธ (อ้างใน Pennock and Smith,1964หน้า 9) กล่าวว่า การเมือง หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับอำนาจ สถาบันและองค์กรในสังคม ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีอำนาจเด็ดขาดครอบคลุมสังคมนั้น ในการสถาปนาและทำนุรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม มีอำนาจในการทำให้จุดประสงค์ร่วมกันของสมาชิกในสังคมได้บังเกิดผลขึ้นมา และมีอำนาจในการประนีประนอมความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคนในสังคม

    บรรณานุกรม
    Pennock, Roland J., and Smith, David G. 1964. Political Science. New York: McMillan

     
  3. รัตนาภรณ์ จันท์แดง รปศ. ปี 4 หมู่ 4 รหัส 5117444034

    มิถุนายน 9, 2011 at 10:25 AM

    น.ส.รัตนาภรณ์ จันท์แดง รปศ. ปี 4 หมู่ 4 รหัส 5117444034

    ชัยอนันต์ สมุทวณิช (อ้างใน ชัยอนันต์ สมุทวณิช,2517หน้า 61) ที่ว่า การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปของรัฐและการจัดระเบียบความสัมพันธ์ภายในรัฐระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง โดยเมื่อสังคมมนุษย์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาล คนเราจึงต้องแบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ ๆ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บังคับกับผู้ถูกบังคับเสมอ

    บรรณานุกรม
    ชัยอนันต์ สมุทวณิช.2517. ความคิดอิสระ : รวมบทความทางการเมืองระหว่างปี 2511-2516. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ

     
  4. นายกันตวัฒน์ ลีสี รปศ. ปี 4 หมู่ 4 รหัส 5117444003

    มิถุนายน 9, 2011 at 10:27 AM

    นายกันตวัฒน์ ลีสี รปศ. ปี 4 หมู่ 4 รหัส 5117444003

    ณรงค์ สินสวัสดิ์ (อ้างใน ณรงค์ สินสวัสดิ์,2539หน้า 3) ที่กล่าวว่า การเมืองเป็นการต่อสู้ช่วงชิง การรักษาไว้และการใช้อำนาจทางการเมือง

    บรรณานุกรม
    ณรงค์ สินสวัสดิ์. 2539. การเมืองไทย: การวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: วัชรินทร์การพิมพ์

     
  5. นายนิยม ทาเขียว รปศ. ปี 4 หมู่ 4 รหัส 5117444025

    มิถุนายน 9, 2011 at 10:36 AM

    นายนิยม ทาเขียว รปศ. ปี 4 หมู่ 4 รหัส 5117444025

    สมพงศ์ เกษมสิน (2517 : 63 – 64) กล่าวว่า ความหมายของการเมืองอย่างกว้าง ๆ อาจสรุปได้ว่า การเมืองเป็นเรื่องของการใช้อำนาจปกครองภายใต้กฎระเบียบหนึ่ง ๆ และยังหมายรวมถึงส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับการจัดทำนโยบาย

    บรรณานุกรม
    ผศ.ดร.สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์,(2549),รัฐประศาสนศาสตร์แนวคิดและทฤษฏี,กรุงเทพ : ธรรกมลการพิมพ์.

     
  6. นางสาวนนทวรรณ สนธิ รหัส 5117441018 รปศ. ปี4 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 10:52 AM

    ดร. สตีเฟน เอลดินน์ (อ้างใน ฉันทัส เพียงธรรม,2542หน้า 78) กล่าวว่า การเมือง คือ การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาดุลยภาพระหว่าง “การพัฒนา.” กับ “ความเท่าเทียม”ในสังคม แต่เชื่อได้เลยว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เป็นจริงแน่ หากนักเสรีประชาธิปไตยละเลย

    บรรณานุกรม
    ฉันทัส เพียงธรรม,(2542),สถาปนาสถาบันการเมือง,กรุงเทพ : สถาบันการพัฒนาพื้นฐาน.

    นางสาวนนทวรรณ สนธิ รหัส 5117441018 รปศ. ปี4 หมู่ 1

     
  7. นางสาวหนึ่งฤทัย ขนรกุล รหัส 5117441048 รปศ. ปี 4 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 10:53 AM

    เพลโต (อ้างใน สมบัติ ธำรงธัญวงศ์,2537หน้า5) กล่าวว่า การเมืองคือสิ่งที่นครรัฐ ได้กระทำและอาจกระทำ

    บรรณานุกรม
    ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์,(2537), การเมือง : แนวความคิดและการพัฒนา,กรุงเทพ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

    นางสาวหนึ่งฤทัย ขนรกุล รหัส 5117441048 รปศ. ปี 4 หมู่ 1

     
  8. นางสาวขวัญเรือน ปะสิ่งชอบ รหัส 5117441004 รปศ. ปี4 หมู่1

    มิถุนายน 9, 2011 at 10:55 AM

    ศาสตราจารย์ ดร. กระมล ทองธรรมชาติ (อ้างใน นายจำรัส ลาภเจริญสุข,2537หน้า 10) ให้ความหมายของการเมืองว่า การเมือง หมายถึง การที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคมซึ่งอาจมีผลประโยชน์ร่วมกัน หรืออาจขัดแย้งกันหรือมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ไม่ลงลอยกันทำการต่อสู้กันเพื่อสรรหาบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ปกครองแทนพวกเขาหรือ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจที่จะบันดาลให้พวกเขาสามารถตัดสินใจในเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมได้โดยชอบธรรม

    บรรณานุกรม
    นายจำรัส ลาภเจริญสุข,(2537),บทบาทการเมืองของ ศ.บุญชนะ อัตรากร,กรุงเทพ : บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

     
  9. คำรณ ภุกิ่งหิน รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441005

    มิถุนายน 9, 2011 at 10:56 AM

    เดวิส เอสตัน ( อ้างใน ชัยอนันต์ สมุทวณิช ,2541 หน้า 1) กล่าวว่า การเมืองในฐานะที่เป็นกิจกรรมซึ่งมีพลวัตรเป็นกระบวนการ ซึ่งมีปัจจัยที่ป้อนเข้าสู่ ” ระบบการเมือง” และก่อให้เกิดผลในรูปของนโยบาย

    บรรณานุกรม
    ชัยอนันต์ สมุทวณิช , (2541) , รัฐ , กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    นายคำรณ ภูกิ่งหิน รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441005

     
  10. นางสาวศิริวรรณ พรรคอนันต์ รหัส 5117441041 รปศ. ปี4 หมู่1

    มิถุนายน 9, 2011 at 10:56 AM

    Harold D. Lasswell (อ้างใน กนก วงษ์ตระหง่าน,2528หน้า9) กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่องของการใช้สัญลักษณ์นั้นหมายความว่าสัญลักษณ์ถูกใช้เพื่อดำเนินการจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคม ผลประโยชน์ที่มีความหมายทั้งที่เป็นวัตถุและนามธรรม

    บรรณานุกรม
    กนก วงษ์ตระหง่าน,(2528),การเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย,กรุงเทพ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

     
  11. นางสาวเสาวลักษณ์ ดวงนภา5117441047 รปศ. ปี4 หมู่1

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:02 AM

    เจโรแลนด์ เพนน๊อค (อ้างใน ดร.ณรงค์ สินสวัสดิ์,2539หน้า2) กล่าวว่าการเมืองหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่าที่เกี่ยวกับอำนาจสถาบันและองค์กรในสังคม

    บรรรานุกรม
    ดร.ณรงค์ สินสวัสดิ์,(2539),การเมืองไทย:การวิเคราะห์เชิงจิตรวิทยา,กรุงเทพ:วัชรินทร์การพิพ์.

     
  12. นางสาวเชิญจุติ วงษ์ปัตตา รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441012

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:03 AM

    ฟรีดริกซ์ เฮเกน ( อ้างใน พิทักษ์ไท เทพนอก , 2543 หน้า 81) ให้ทรรศนะว่า “โลกมนุษย์เต็มไปด้วยความขัดแย้งแต่ความขัดแย้งถือเป็นรากฐานของชีวิต ถ้าปราศจากการขัดแย้งแล้วโลกจะไม่มีชีวิต ไม่มีการการเคลื่อนไหว และจะไม่มีความเจริญเติบโตหรือพัฒนาการ”

    บรรณานุกรม
    พิทักษ์ไท เทพนอก , (2543) , ทฤษฎีสังคมและการเมือง, นครราชสีมา : จิระการพิมพ์.

    นางสาวเชิญจุติ วงษ์ปัตตา รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441012

     
  13. อุทุมพร จุลสิงห์

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:04 AM

    น.ส.อุทุมพร จุลสิงห์ รปศ. ปี4 หมู่4 รหัส5117444053

    ดี.เอ.คัชชิน( D. A. Cutchin, 1981 : 75) กล่าวว่า การเมืองได้แก่กระบวนการในการตัดสันใจว่า ผู้ใดได้รับอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร การบวนการในการหาข้อยุติความขัดแย้งที่กำหนดในการจัดสรรทรัพยากร, กระบวนการใช้อำนาจให้มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการของรัฐบาลในเรื่องใดๆ

    บรรณานุกรม
    พิทยา บวรวัฒนา. (2541).รัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฏีและแนวคิดทางการศึกษา(ค.ศ.1970-ค.ศ.1980).พิมพ์ครั้งที 6.กรุงเทพ :จฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     
  14. น.ส. อุษา สินธุนาวา รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441054

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:05 AM

    น.ส. อุษา สินธุนาวา รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441054

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (อ้างใน แถมสุข นุ่มนนท์ , 2524 หน้า 13) กล่าวว่า ถ้าเป็นผู้ที่ถือตนว่ามีสติปัญญา ก็ใช้สติปัญญาหลอกหลวง โดยอาการต่าง ๆ นี้ คือแบบบุคคลจำพวกที่เรียกตนว่า “นักรู้การเมือง” ซึ่งมักใช้วาจาและโวหารลวงให้ตายใจ แล้วจึงจะใช้ผู้อื่นเป็นเครื่องมือ

    บรรณานุกรม
    แถมสุข นุ่มนนท์ , (2524) , การเมืองและการต่างประเทศในประวัติศาสตร์ไทย , กรุงเทพ : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

     
  15. วรรณศักดิ์ ศรีประเสริฐ

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:07 AM

    นาย วรรณศักดิ์ ศรีประเสริฐ รปศ. ปี 4 หมู่ 4 รหัส 5117444035

    สุขุม นวลสกุล (2535 : 11)ได้กล่าวไว้ว่า “คนไทยจำนวนไม่น้อยถูกอบรมให้เชื่อว่าเป็นเรื่องสกปรก ไม่สมควรที่คนสะอาด ๆ อย่างประชาชนทั่วไปจะมาให้ความสนใจหรือรักใคร่เป็นเรื่องน่าเกลียดน่าชังเอาตัวออกห่างเท่าไรยิ่งดีโดยเนื้อแท้ของการเมืองแล้วเป็นเรื่องของความดี เป็นเรื่องของการสร้างสรรค์ และเป็นเรื่องของการกระทำเพื่อส่วนรวม”

    บรรณานุกรม
    กุลธน ธนาพงศธร. (2522). การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

     
  16. นางสาวพุทธชาติ มีมาก รหัสนักศึกษา 5117441029 รปศ. ปี4 หมู่1

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:07 AM

    Harold D. Lasswell (อ้างใน กนก วงษ์ตระหง่าน, 2528 หน้า9) กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่องของการใช้สัญลักษณ์นั้นหมายความว่าสัญลักษณ์ถูกใช้เพื่อดำเนินการจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคม ผลประโยชน์ในที่นี้มีความหมายทั้งที่เป็นวัตถุและนามธรรม

    บรรณานุกรม
    กนก วงษ์ตระหง่าน,(2528), การเมืองในระบอกประชาธิปไตยไทย,กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

     
  17. นายพิเชษฐ์ บุญธรรม รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441028

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:10 AM

    เอ. ดาห์ล (อ้างใน วิสุทธิ์ โพธิแท่น , 2538 หน้า 2) กล่าวว่า การเมืองเป็นปรากฏการณ์ปกติของสังคมมนุษย์ เช่นนี้ มนุษย์ในสังคมสามารถหลีกหนีการเมืองได้พ้น มนุษย์จึงต้องร่วมมืร่วมใจกันทำการเมือง ที่ดี เป็นการเมืองที่อำนวยประโยชน์สุขต่อมนุษย์โดยส่วนรวมให้มากที่สุด

    บรรณานุกรม
    วิสุทธิ์ โพธิแท่น , (2538) . อะไรนะประชาธิปไตร, กรุงเทพ : โรงพิมพ์หมาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

    นายพิเชษฐ์ บุญธรรม รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441028

     
  18. นาย อิสสระพงษ์ เพิ่มพวก หมู่4 รปศ. 5117444052

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:12 AM

    พระพุทธทาสภิกขุ สิ่งที่เรียกว่า การเมือง มีความหมายตามแนวทางของศาสนาว่า การเมือง คือ การจัดอย่างถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ เพื่อคนมากจะอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก[4] สิ่งที่เรียกว่าการเมือง คือ ระบบศีลธรรมอันเร้นลับ การดูอย่างนี้มีประโยชน์และเป็นสิ่งที่จำเป็น ถ้านำมาทำให้ถูกต้องก็จะมีประโยชน์ ถึงอย่างนั้นก็ยังจะต้องแยกออกให้ง่าย ให้เห็นได้ง่าย ให้ง่ายแก่การที่จะศึกษาหรือปฏิบัติศีลธรรมในรูปแห่งการเมือง และหากให้ดีกว่านั้นอีกก็ให้การเมืองมาอยู่ในรูปของศาสนาเสียเลย เพราะว่าคำว่า “ศาสนา” ก็คือ ภาวะสมบูรณ์ของสิ่งที่เรียกว่าศีลธรรม ความ

    บรรณนานุกรม

    พุทธทาสภิกขุ, “ธรรมสัจจะของธรรมชาติกับอุดมคติทางการเมือง” ธรรมสัจจสงเคราะห์ (ธรรมโฆษณ์), (กรุงเทพมหานคร: ธรรมทานมูลนิธิ, ๒๕๒๑), หน้า ๓๑๖ต็มรูปของสิ่งที่เรียกว่าศีลธรรมคือ ศาสนา

     
  19. นายดนุพล ทีฆายุ รหัส5117441014

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:14 AM

    จอห์น ล็อค (อ้างใน ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร,2548 หน้า 76 ) กล่าวว่า การเมืองที่มีเหตุผลต้องเชื่อฟังคนกลุ่มใหญ่ เมื่อคนกลุ่มใหญ่ในสังคมมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร คนกลุ่มที่เหลือที่ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดของคนส่วนใหญ่จะต้องปฏิบัติตามโดยปฏิเสธไม่ได้

    บรรณานุกรม
    ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร.(2548).รัฐศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่2 ฉบับปรับปรุง.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

     
  20. นายอัศวิน แก้วพิทักษ์ ร.ป.ศ.หมู่ 1 ปี 4

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:17 AM

    โทมัส ฮอบ(อ้างใน เขียน ธีรวิทย์,2523 หน้า 82) กล่าวว่า การเมืองในฐานะการปกครองของรัฐนั้น นอกจากจะต้องมีลักษณะเป็นอำนาจสูงสุด คืออำนาจอธิปไตยแล้วยังเป็นอำนาจที่เด็ดขาดด้วย ในการดำเนินการปกครองนั้น รัฐเป็นผู้ใช้อำนาจบังคับต่อประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

    บรรณานุกรม
    เขียน ธีรวิทย์.(2523).สถาปนิกผู้สร้างทฤษฎีการเมืองตะวันตกจากแม็คคีเวลลีถึงรุสโซ.กรุงเทพมหานคร:เจริญวิทย์พาณิชย์.

     
  21. Sayayu Rattanachusi

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:17 AM

    นายศยายุ รัตนชูศรี รปศ. ปี4 หมู่4 รหัส 5117444037

    ฮาโรล์ ลาสเวลล์( Harold Lasswell,1950 : 3 ) กล่าวว่า การศึกษาการเมืองคือการศึกษาถึงอิทธิพลและผู้ทรงอิทธิพล
    บรรณานุกรม
    Lasswell, Harold D. ( 1950 ) Politics: Who Gets What, When, How. New York : Peter Smith

     
    • ajaniew

      มิถุนายน 9, 2011 at 6:34 PM

      อ้าง ฮาโรล์ ลาสเวลล์ มาจากหนังสือเล่มใดคะ ไม่ใช่เล่มนี้แน่ๆๆ

      Lasswell, Harold D. ( 1950 ) Politics: Who Gets What, When, How. New York : Peter Smith

      อ้างมาส่งใหม่ค่ะ

       
  22. พิสุทธิ์ กสิพร้อง

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:17 AM

    นาย พิสุทธิ์ กสิพร้อง รปศ. ปี 4 หมู่ 4 รหัส 5117444030

    ติน ปรัชญพฤทธิ์ ( 2538 ) บัญญัติไว้ในศัพท์รัฐประศาสตร์ว่า การเมือง ( Politics ) ได้แก่ กิจกรรม เนื้อหา กระบวนการ และพฤติกรรมในอันที่จะจัดสรรทรัพยากรที่มีค่าสำหรับกลุ่ม องค์การและสังคมและการจัดสรรดังกล่าวจะต้องมีผลบังคับตามกฏหมาย นั่นคือ หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษ

    บรรณานุกรม
    ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2544). การบริหารการพัฒนา : ความหมาย เนื้อหา แนวทางและปัญหา . พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

     
  23. นายวัชรพงษ์ แสงอรุณ ร.ป.ศ.หมู่ 1 ปี 4

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:18 AM

    ดร.ณรงค์ สินสวัสดิ์ ,2539 หน้า 80 กล่าว่า การเมือง คือ การต่อสู้ช่วงชิงอำนาจ การรักษาไว้ และการใช้อำนาจทางการเมือง

    บรรณานุกรม
    ดร.ณรงค์ สินสวัสดิ์.(2539).การเมืองไทยการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา.กรุงเทพ:บริษัทวัชรรินทร์การพิมพ์ จำกัด.

     
  24. นายสรรเพชร ขนุนทอง รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441043

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:19 AM

    แม็ก เวเบอร์ (อ้างใน หยุด แสงอุทัย,2511 หน้า 185 ) กล่าวว่า การเมืองหรือความสัมพันธ์ใดๆ ในการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบังคับให้ปฎิบัติตามคำสั่ง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ที่สามารถดำเนินให้บรรลุผลอย่างต่อเนื่องได้ภายในดินแดนใดดินแดนหนึ่ง โดยการบังคับนั้นเป็นการใช้กำลังบังคับที่ชอบธรรม จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายรัฐบาล

    บรรณานุกรม
    หยุด แสงอุทัย , (2511) . คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพ : โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์.

    นายสรรเพชร ขนุนทอง รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441043

     
  25. นางสาว. ฤทัยทิพย์ วงษ์ลำดับ. 5117441034

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:26 AM

    Plato Hobbes.( อ้างใน,นรนิติ เศรษฐบุตร,2539,หน้า41) กล่าวว่า:เป้าหมายของความรู้สึกก็คืออำนาจ ที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองงขึ้นมาได้
    บรรณานุกรม : รองศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร,(2539)หน้า41 : การเมือง-วิเคราะห์การบ้านการเมือง,กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ มหาลัยธรรมศาสตร์

     
  26. นางสาวเหมวดี ลีฬหวนิช 5117441049

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:26 AM

    Easton (อ้างใน ทินพันธ์ นาคะตะ , 2547 หน้า 95) กล่าวว่า ระบบการเมืองใดจะดำรงอยู่ได้ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะต้องมีปัจจัยนำเข้ามาจากสิ่งแวดล้อมของระบบ ได้แก่การเรียกร้องกับการสนับสนุน

    บรรณานุกรม ดร.ทินพันธ์ นาคะตะ, (2547) หน้า 95) : การเมือง แนวทางการศึกษาวิเคราะห์การเมือง, กรุงเทพ : สำนักพิมพ์โครงการเอกสารและตำราสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า

     
  27. นายศิรวิชญ์ มาลัยเล็กรปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441039

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:28 AM

    มาเคียเวลลี (อ้างใน พิศาล มุกดารัศมี, 2551 หน้า 43) กล่าวว่า การเมืองก็คืออำนาจ คำแนะนำการเมืองไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักศีลธรรม และถือว่า ความรู้ทางการเมืองมีไว้สำหรับเป็นแนวทางปฎิบัติ สำหรับนักปกครอง

    บรรณานุกรม
    พิศาล มุกดารัศมี , (2551)หน้า 43 . การเมือง ปรัชญาทางการเมืองคลาสสิค , กรุงเทพ : โรงพิมพ์วิภาษา

    นายศิรวิชญ์ มาลัยเล็กรปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441039

     
  28. สนั่น

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:30 AM

    นายสนั่น สัสดี รปศ. ม.1 ปี.4 5117441042
    สุชิน ตันติกุล (อ้างใน สุขุม นวลสกุล , 2523 หน้า 1) กล่าวว่าการเมืองหมายถึงเรื่องเกียวกับการแข่งขันเพื่อหรือการแสวงหาอำนาจซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งสังคมหรือส่วนใหญ่ของสังคม

    บรรณานุกรม
    สุขุม นวลสกุล ,(2523),การเมืองและการปกครองไทย : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

     
  29. นายบุรินทร์ สินทวีทรัพย์ รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441022

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:36 AM

    หลุยส์ บลังค์ (อ้างใน โกวิท วงส์สรวัฒน์ ,2534 หน้า 50 )กล่าวว่า ความเลวร้ายทางเศรษฐกิจนั้นมีสาเหตุมาจากการแข่งขันและการแข่งขันเป็นสาเหตุแห่งความยากจน และความยากจนเป็นเหตุทำให้คนมีความเสื่อมทางจิตใจ

    บรรณานุกรม
    โกวิท วงส์สรวัฒน์ , (2534) รัฐศาสตร์กับการเมือง , กรุงเทพ : บริษัทเลิฟ แอนด์ลิฟเพรส

    นายบุรินทร์ สินทวีทรัพย์ รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441022

     
  30. นาย ศรัณย์ สรรพคุณ หมู่4 รปศ. 5117444038

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:41 AM

    กิตติพัฒน์ สุวรรณสิริเมธี (2550) กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ ซึ่งอำนาจทางการเมืองเป็นอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน

    บรรณานุกรม

    สุรพล สุยะพรหมและคณะ ปรัชญาการเมือง , กรุงเทพฯ: มหาจุฬาบรรณาคาร, ๒๕๔๗

     
  31. นางสาวสุจินดา ขันรักษา รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441044

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:43 AM

    เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (อ้างใน เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ,2536 หน้า 110 ) กล่าวว่า อำนาจทางการเมืองและการกำหนดนโยบายอยู่ในมือนายทหารและข้าราชการชั้นสูงเกือบหมด ในขณะที่พลังนอกระบบราชการหาได้มี ความหมายทางการเมืองมากนัก

    บรรณานุกรม
    ใจ อึ้งภากรณ์ และคณะ , (2543)การเมืองไทยในทัศนะลัทธิมาร์ค, กรุงเทพ : ชมรมหนังสือประชาธิปไตยแรงงาน

    นางสาวสุจินดา ขันรักษา รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441044

     
  32. นาย วัชรพงศ์ เตชวินิจสกุล หมู่4 รปศ. 5117444045

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:48 AM

    โสกราตีส กล่าวว่า การเมืองของอำนาจอธิปไตย มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย, ด้านบริหาร และมีอำนาจในการตัดสินคดีต่างๆ

    บรรณานุกรม

    วิทยากร เชียงกูล ปรัชญาการเมือง เสรษฐกิจ สังคม. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์เดือนตุลาจำกัด, ๒๕๔๘.

     
  33. นาย เอกพัน สวัสดี รปศ.1 ปี4 5117441055

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:51 AM

    นาย เอกพัน สวัสดี รปศ.1 ปี4 5117441055
    Friedrich (อ้างใน ดร.ทินพันธุ์ นาคะตะ,2541หน้า56) กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะโดยทั่วไปของมนุษย์กับรัฐ หรืออำนาจหน้าที่

    บรรณานุกรม
    ดร.ทินพันธุ์ นาคะตะ,(2541),รัฐศาสตร์ : ทฤษฎี แนวความคิด ปัญหาสำคัญ และแนวทางศึกษาวิเคราะห์การเมือง: โครงการเอกสารและตำราสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า.

     
  34. นางสาวเบญญทิพย์ เจริญพัฒน์ชัย รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441017

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:54 AM

    นางสาวเบญญทิพย์ เจริญพัฒน์ชัย รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441017

    หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร ( อ้างใน รองศาสตราจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ , 2535 ,หน้า 167 ) กล่าวว่า การเมืองในระบบใหม่ต้องใช้สภาผู้แทนราษฎรควบคุมรัฐบาลอยู่เนืองนิตย์ รัฐบาลเป็นเพียงอุปกรณ์การดำเนินอำนาจอธิปไตย

    บรรณานุกรม รศ. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์,(2535),การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2547, กรุงเทพ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

     
  35. นาย ธรรมรัตน์ ชาวปลายนา หมู่4 รปศ. 5117444020

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:54 AM

    มองเตสกิเออ (ค.ศ. ๑๖๘๙ – ๑๗๕๕) Montesquieu กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่อง ทฤษฎี การแบ่งอำนาจและคานอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ

    บรรณานุกรม

    ประยงค์ สุวรรณบุบผา. รัฐปรัชญา แนวคิดตะวันออก- ตะวันตก. กรุงเทพฯ: โอเดียรสโตร์, ๒๕๔๑.

     
  36. นางสาวเพชรรัตน์ ภาคจิตร์ รปศ.1 ปี4 5117441030

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:57 AM

    ธีรยุทธ บุญมี (อ้างใน ธีรยุทธ บุญมี : 2547 หน้า 13) กล่าวว่า นักการเมืองไทยที่มุ่งหวังขจัดลดทอนบทบาทการเมืองภาคประชาชน ควรตระหนักว่าการเมืองรัฐสภาหรือการเมืองแบบผู้แทน กำลังลดบทบาทลงและตัวมันเองไม่พอเพียงที่จะตอบปัญหาทุกเรื่องแก่ผู้คนได้

    บรรณานุกรม
    ธีรยุทธ บุญมี ,(2547) Road Map ประเทศไทย, กรุงเทพฯ : สายธาร.

    นางสาวเพชรรัตน์ ภาคจิตร์ รปศ.1 ปี4 5117441030

     
  37. นางสาวจุฑารัตน์ ศิริเล็ก รปศ ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441008

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:01 PM

    นางสาวจุฑารัตน์ ศิริเล็ก รปศ ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441008
    ยอร์ช แคทแท็บ (อ้างใน สุขุม นวลสกุล,2520 หน้า 3) กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างทางการเมือง ครอบคลุมครบถ้วนในกระบวนความ มีความเป็นปรัชญาในหลักการ
    บรรณานุกรม
    สุขุม นวลสกุล,(2520),ทฤษฏีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง,กรุงเทพ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

     
  38. กมลพรรณ สิงห์คาร รหัส5117441002

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:03 PM

    ฮันส์ เจ มอร์เกนเธา(อ้างในกระมล ทองธรรมชาติ,2531 หน้า7)กล่าวว่า กรเมืองเป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่อการมีอำนาจ

    บรรณานุกรม
    กระมล ทองธรรมชาติ,(2531),การเมืองและการปกครองไทย,กรุงเทพมหานคร:ไทยวัฒนาพานิช

     
  39. กมลพรรณ สิงห์คารหมู่1ปี4 รหัส5117441002

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:06 PM

    ฮันส์ เจ มอร์เกนเธา(อ้างในกระมล ทองธรรมชาติ,2531 หน้า7)กล่าวว่า กรเมืองเป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่อการมีอำนาจ
    บรรณานุกรม
    กระมล ทองธรรมชาติ,(2531),การเมืองและการปกครองไทย,กรุงเทพมหานคร:ไทยวัฒนาพานิช

     
  40. น.ส.วิชยดา สุนทร เลขที่ 37 รัฐประศาสนศาสตร์ ปี 4 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:10 PM

    เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ ( อ้างใน เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์, 2513 หน้า 629 ) กล่าวว่าการเมือง ได้มีผู้ให้คำนิยามไว้หลายนิยามด้วยกันบ้าก็ว่าการเมือง คือ การแสวงหาอำนาจ บ้างก็ว่าการเมืองหมายถึง การมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายบริหารประเทศ และควบคุมการปฏิบัติงานของข้าราชการให้บรรลุผลตามนโยบาย
    บรรณานุกรม
    พัฒนาบริหารศาสตร์.อาชีพรับราชการเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ปีที่ 10 เล่มที่ 4 (ตุลาคม 2513) หน้า 629

     
  41. 5117441053

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:10 PM

    อินทิรา เจริญสุข 5117441053 หมู่ 1
    โธมัส ธอบส์ (อ้างใน เอกสารประกอบการสอนวิชาพื้นฐานการปกครองและการเมืองของไทย(2529) หน้า 12) กล่าวว่า การเมืองคือการต่อสู้เพื่อเถลิงอำนาจ

    บรรณานุกรม
    เอกสารประกอบการสอนวิชาพื้นฐานการปกครองและการเมืองของไทย(2529) วิทยาลัยครูจันทรเกษม

     
  42. อินทิรา เจริญสุข 5117441053 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:11 PM

    โธมัส ธอบส์ (อ้างใน เอกสารประกอบการสอนวิชาพื้นฐานการปกครองและการเมืองของไทย(2529) หน้า 12) กล่าวว่า การเมืองคือการต่อสู้เพื่อเถลิงอำนาจ

    บรรณานุกรม
    เอกสารประกอบการสอนวิชาพื้นฐานการปกครองและการเมืองของไทย(2529) วิทยาลัยครูจันทรเกษม

     
  43. อมรรัตน์ เจริญสุข 511744105 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:13 PM

    แมคคลิเวน (อ้างใน รศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์,2549 หน้า 3)กล่าวว่า รวมกิจกรรมร่วมทั้งปวงของราษฎร ซึ่งไม่มีทางคิดว่าสมาชิกของรัฐจะทำการหรือมีอยู่ภายนอกของรัฐได้ดังนั้น ชีวิตสังคมทั้งหมดคือ ชีวิตการเมือง บางที่จะเป็นเพราะว่าในนครรัฐชีวิตการเมืองโดยแท้จริงมีลักษณะเป็นสังคม มากกว่าของเรา
    บรรณานุกรม
    รศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์,2549 นักการเมืองไทย:จริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน การคอร์รัปชัน สภาพปัญหาสาเหตุ ผลกระทบ แนวทางแก้ไข,กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์สายธาร

     
  44. น.ส.นุชนาฏ กานิต เลขที่20 รัฐประศาสนศาสตร์ ปี 4 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:22 PM

    harold nicolson(อ้างในชุบ กาญจนประการ,2505หน้า24)กล่าวว่า การเมืองคือการที่รัฐบาลดำเนินการเพื่อความมั่นคงและความก้าวหน้าของประเทศชาติ รวมทั้งความผาสุกของประชาชน
    บรรณานุกรม
    ชุบ กาญจนประการ นายกรัฐมนตรีสมัยปฏิวัติ,การศึกษาเฉพาะกรณีมาตราการสร้างสรรค์ภาวะผู้นำทางการเมือง,เอกสารวิจัยส่วนบุคคล(โร้นียว)2505

     
  45. นายดำรงศักดิ์ เฉลิมพงษ์ รหัส 5314443011 ปี 2 หมู่ 3(ลงเพิ่ม)

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:23 PM

    โทมัส ฮอบส์ (อ้างใน สมบัติ ธำรงธัญวงศ์,2548หน้า 143) กล่าวว่า ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ ไม่มีใครสูงกว่าคนอื่นจนพ้นวิสัยที่คนอื่นจะทำลายได้
    บรรณานุกรม
    สมบัติ ธำรงธัญวงศ์.การเมือง:แนวความคิดและการพัฒนา.พิมพ์ครั้งที่15.กรุงเทพฯ:เสมาธรรม,2548.

     
  46. น.ส.ปิยนุช เงาฉาย 5117441023 ปี 4 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:37 PM

    วูดโรว์ วิลสัน (อ้างใน สร้อยตระกูล (ดิวยานนท์) อรรถมานะ,2540,หน้า 116) กล่าวว่า สาขาวิชาการบริหารนั้นเป็นสาขาวิชาของธุรกิจซึ่งจะต้องแยกออกไปจากความรีบร้อนและการแก่งแย่งทางการเมือง
    บรรณานุกรม
    สร้อยตระกูล (ดิวยานนท์) อรรถมานะ,(2540),สาธารณบริหารศาสตร์,กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

     
  47. อินทิรา เจริญสุข 5117441053 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:46 PM

    รอเจอร์ส (อ้างในนางศรินทิพย์ นิมิตรมงคล2548 หน้า 276) กล่าวว่า การเมืองเป็ศาสตร์และศิลปะของการปกครองของรัฐบาล
    บรรณานุกรม
    นางศรินทิพย์ นิมิตรมงคล.การบริหารการพัฒนา : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2548.

     
  48. เสกสรรค์ บุญญะกา 5117441046 ปี 4 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:47 PM

    มาร์ติน ลูเธอร์ (อ้างใน ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร,2552,หน้า 72) กล่าวว่า อำนาจทางการเมืองควรแยกออกมาจากอำนาจทางศาสนา โดยคริสเตียนทั้งหลายต้องเคารพเชื่อฟังรัฐบาลที่ตั้งขึ้นมาอย่างถูกต้อง
    บรรณานุกรม
    ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร,(2552),รัฐศาสตร์,กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

     
  49. นางสาว วราทิพย์ เอี่ยมสุข รหัส 5117441035 ปี 4 หมุ่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:48 PM

    Talcott Porsons (อ้างใน ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล,2544 หน้า 29) กล่าวว่า การเมืองเป็นระบบย่อยของสังคมมีหน้าที่เป็นโครงสร้างหลักในการนำสังคมไปสู่จุดมุ่งหมายของมันการเมืองเป็นหลักในการจัดระเบียบการแข่งขันเพื่ออำนาจเป็นเวทีแห่งการแข่งขัน ตลอดจนเป็นผู้วางตัวบุคคลเข้าสู่บทบาทเชิงอำนาจต่างๆ
    บรรณานุกรม
    ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล ,(2544), ระบบการเมืองความรู้เบื้องต้น ,กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     
  50. นายพรรณเชษฐ เลื่อมสำราญ 5117441028 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:48 PM

    เพลโต (อ้างในดร.วิทยา สุจริตธนารักษ์,2532หน้า 10) กล่าวว่า สังคมนั้นประกอบด้วยคน 3 กลุ่มใหญ่ คือรัฐบุรุษ ประชาชนผู้เป็นพลเรือนและฝ่ายปฏิบัติการ เช่น ทหารตำรวจ และเพลโตได้แบ่งการเมืองเป็น 3 รูปแบบ คือ อภิชนาธิปไตย คณาธิปไตย และประชาธิปไตย
    บรรณานุกรม
    ดร.วิทยา สุจริตธนารักษ์,2532 วิวัฒนาการทางการเมืองไทยปากเกร็ด นนทบุรี

     
  51. นายบดินทร์ จิตรสมาน 5117441021 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:49 PM

    เดวิด อีสตัน (อ้างใน ดร.วิทยา สุจริตธนารักษ์,ศรีศักร วิลลิโภดม,ปิยนาถ บุญนาค,2532 ในหน้า 8) กล่าวว่า การจัดสรรที่มีคุณค่าอันเป็นสิ่งที่ยอมรับภายในสังคม สิ่งที่มีคุณค่า คือ สิ่งที่ทุกคนต่างต้องการ อันเป็นยศฐาบรรดาศักดิ์ ความมีหน้ามีตา ตำแหน่ง ความร่ำรวย อยู่ดีกินดี มีความสุข
    บรรณานุกรม
    ดร.วิทยา สุจริตธนารักษ์,ศรีศักร วิลลิโภดม,ปิยนาถ บุญนาค,(2532),วิวัฒนาการทางการเมือง:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

     
  52. นางสาว จันทร ตรึกหากิจ รหัส 5117441006 ปี4 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:57 PM

    เอ็ดวาร์ด ชิลล์ (อ้างใน สุขุม นวลสกุล, 2523 หน้า 5) กล่าวว่า ระบบการเมืองไทยในสมัยรัฐบาลทหารนั้นเรียกได้ว่าเป็นระบบการเมืองแบบคณาธิปไตยนำสมัย โดยถือว่าเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบคุมโดยระบบราชการและ/หรือคณะทหารโดยมีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือโดยไม่มีรัฐธรรมนูญเลย

    บรรณานุกรม
    ปรัชญาสุขุม นวลสกุล, (2523), การเมืองและการปกครองไทย,กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

     
  53. นางสาวเพชรา สารักษ์ 5117441031 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 12:59 PM

    เดวิด จี.สมิธ ( อ้างใน ดร. ณรงค์ สินสวัสดิ์, 2539 หน้า 2 ) กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับอำนาจ สถาบัน และองค์กรในสังคม ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีอำนาจคลอบคลุมเด็ดขาดในสังคม
    บรรณานุกรม
    ดร.ณรงค์ สินสวัสดิ์ , การเมืองไทย ,กรุงเทพ : วัชรินทร์การพิมพ์.

     
  54. นางสาวเพชรา สารักษ์ 5117441031 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 1:02 PM

    เดวิด จี.สมิธ ( อ้างใน ดร. ณรงค์ สินสวัสดิ์, 2539 หน้า 2 ) กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับอำนาจ สถาบัน และองค์กรในสังคม ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีอำนาจคลอบคลุมเด็ดขาดในสังคม
    บรรณานุกรม
    ดร.ณรงค์ สินสวัสดิ์ ,( 2539) การเมืองไทย ,กรุงเทพ : วัชรินทร์การพิมพ์.

     
  55. นางสาว จันทร ตรึกหากิจ รหัส 5117441006 ปี4 หมู่ 1

    มิถุนายน 9, 2011 at 1:05 PM

    เอ็ดวาร์ด ชิลล์ (อ้างใน สุขุม นวลสกุล, 2523 หน้า 5) กล่าวว่า ระบบการเมืองไทยในสมัยรัฐบาลทหารนั้นเรียกได้ว่าเป็นระบบการเมืองแบบคณาธิปไตยนำสมัย โดยถือว่าเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบคุมโดยระบบราชการและ/หรือคณะทหารโดยมีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือโดยไม่มีรัฐธรรมนูญเลย

    บรรณานุกรม
    สุขุม นวลสกุล, (2523), การเมืองและการปกครองไทย,กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

     
    • ภัครดา กวานเจริญใจ

      มิถุนายน 9, 2011 at 2:12 PM

      นางสาวภัครดา กวานเจริญใจ รหัส5117441033 ปี4หมู่1

      ฮันฮิงตันและโดมิงเกรช(อ้างในดร.สุจิต บุญบงการ,2531หน้า19)กล่าวว่า การพัฒนาทางการเมืองเป็นเรื่องของกระบวนการไปสู่ลักษณะทางการเมืองของสังคมอุตสาหกรรม.

      บรรณานุกรม
      ดร.สุจิต บุญบงการ,(2531)การพัฒนาทางการเมืองของไทย,กรุงเทพ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

       
  56. กิตติยา ศุภประเสิรฐ

    มิถุนายน 9, 2011 at 2:47 PM

    น.ส.กิตติยา ศุภประเสิรฐ รปศ. ปี4 หมู่ 4 รหัส 5117444037

    นักบุญโทมัส อะไควนัส กล่าวว่า ประชาชนจะต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง ประชาชนจะต้องเชื่อฟังผู้นำทุกอย่าง หากผู้นำทำผิดหรือกลายเป็นทรราชย์

    บรรณานุกรม
    ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิต,(2548),รัฐศาสตร์,สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     
  57. กิตติยา ศุภประเสิรฐ

    มิถุนายน 9, 2011 at 3:01 PM

    น.ส.กิตติยา ศุภประเสิรฐ รปศ. ปี4 หมู่ 4 รหัส 5117444055

    นักบุญโทมัส อะไควนัส กล่าวว่า ประชาชนจะต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง ประชาชนจะต้องเชื่อฟังผู้นำทุกอย่าง หากผู้นำทำผิดหรือกลายเป็นทรราชย์

    บรรณานุกรม
    ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิต,(2548),รัฐศาสตร์,กรุงเทพ.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     
  58. นายศยายุ รัตนชูศรี

    มิถุนายน 9, 2011 at 3:19 PM

    นายศยายุ รัตนชูศรี รปศ. ปี4 หมู่ 4 รหัส 5117444037

    ลูเซียน พาย (Lucian Pye ) กล่าวว่า วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นทัศนะคติ ความเชื่อ และความรู้สึกของผู้คนที่จะช่วยให้เขาเข้าใจหรือเห็นความสำคัญของกระบวนการทางการเมือง

    บรรณานุกรม
    สมภพ จรพิภพ,เอกสารประกอบการสอนการเมืองการปกครองของไทย

     
  59. น.ส.ศิรินาฏ ศิลสังวรณ์ รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441040

    มิถุนายน 9, 2011 at 5:43 PM

    เพลโต (อ้างใน สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ 2546 หน้า 5) กล่าวว่า การเมืองคือสิ่งที่นครรัฐ ได้กระทำและอาจกระทำสิ่งที่นครรัฐได้กระทำจะมีความหมายครอยคลุมกิจกรรมต่างๆทั้งหมดที่นครได้กระทำไปแล้ว ทั้งในการบัญญัติกฎหมายและระเบียบต่างๆของสังคม

    บรรณานุกรม
    สมบัติ ธำรงธัญวงศ์,(2546),การเมือง:แนวความคิดและการพัฒนา,กรุงเทพ:เสมาธรรม

     
  60. นายเกียรติศักดิ์ นิลเกษม

    มิถุนายน 9, 2011 at 6:07 PM

    นายเกียรติศักดิ์ นิลเกษม รปศ. ปี 4 หมู่ 1 หรัส 5117441003
    เจเรมี เบ็นแธม (Jerame Bentham : ค.ศ.1747-1832) (อ้างใน สุนทร พูนเอียด 2526 หน้า 14-15) ได้มีความเห็นว่า การเมืองเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถบรรลุผลประโยชน์ส่วนตัวร่วมกับผลประโยชน์ส่วนรวมได้โดยยึดถือหลักคำนวณความผาสุก

    บรรณานุกรม
    สุนทร พูนเอียด,(2526),พื้นฐานทางการเมืองและการปกครองของไทย:วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี

     
  61. นายพงศกร ยุทธสิงหนาท รปศ. ปี 4 หมู่ 1 หรัส 5117441024

    มิถุนายน 9, 2011 at 6:13 PM

    วี โอ คี (V.O.Key) (อ้างใน สุนทร พูนเอียด 2526 หน้า 15) ได้กล่าวว่า “การเมือง คือการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ในเรื่องการบังคับบัญชาและถูกบังคับบัญชาการควบคุมและการถูกควบคุมการเป็นผู้ปกครองและถูกปกครอง

    บรรณานุกรม
    สุนทร พูนเอียด,(2526),พื้นฐานทางการเมืองและการปกครองของไทย:วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี

     
  62. นายชัยรักษ์ ล้วนเกษม รปศ. ปี 4 หมู่ 1 หรัส 5117441009

    มิถุนายน 9, 2011 at 6:24 PM

    เบอร์นาร์ด คริ๊ค (อ้างใน สุนทร พูนเอียด 2526 หน้า 15) ได้ให้คำนิยามของการเมืองว่า “การเมือง คือกิจกรรมซึ่งผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมอยู่ในหน่วยปกครองหนึ่ง ๆ ได้รับการประสานประโยชน์โดยได้รับโอกาสที่จะร่วมมีอำนาจตามสัดส่วนของความสำคัญของกลุ่มทั้งนี้เป็นไปเพื่อสวัสดิภาพและการคงอยู่ของสังคมโดยส่วนรวม”

     
  63. นาย จีรวัฒน์ ม้าจีน รหัส 5117444008 หมู่ 4

    มิถุนายน 9, 2011 at 7:44 PM

    เชลดอล เอส โวลิน (อ้างใน นงเยาว์ พีระตานนท์ , 2541 ในหน้า 8) กล่าวว่า “ การเมือง” ว่าเป็นกิจกรรมที่มีจุดสนใจอยู่ที่การแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการแข่งขันในระดับบุคคล กลุ่มคนต่อกลุ่มคน และสังคมต่อสังคม
    บรรณานุกรม
    นงเยาว์ พีระตานนท์ , (2541) , การเมืองและการปกครอง , กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต

     
  64. นางสาว นพรัตน์ ภาระเปลื้อง 5117444024

    มิถุนายน 9, 2011 at 9:00 PM

    วิสุทธิ์ โพธิแท่น (2544, หน้า 3); Monroe (2001, pp. 11-13)และ Ware (1996, pp. 5-6)กล่าวว่า กลุ่มคนที่มีแนวคิดทางการเมืองหรือ มีผลประโยชน์บางอย่างร่วมกัน ซึ่งรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์การดำเนินกิจการทางการเมือง เพื่อแสวงหาการมีอิทธิพลในรัฐหรือได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยการส่ง ผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งเป็นตัวแทนในการรวบรวมผลประโยชน์ ที่หลากหลายให้แก่คนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม

    บรรณานุกรม

    วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2544). การดำเนินกิจการของพรรคการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกลัา.

     
  65. น.ส.ดวงใจ เนตรสุวรรณ รหัส 5117444013 รปศ. ปี 4 หมู่ 4

    มิถุนายน 9, 2011 at 9:46 PM

    น.ส.ดวงใจ เนตรสุวรรณ รหัส 5117444013 รปศ. ปี 4 หมู่ 4
    Eulau (อ้างใน Eulau,1963หน้า 3) การเมืองการปกครองซึ่งเป็นสภาพการณ์และผลที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์อย่างมิอาจปฏิเสธได้ ซึ่งก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ใดก็ตาม จำเป็นต้องให้ความสนใจกับเรื่องการเมืองการปกครองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

    บรรณานุกรม
    Eulau, Heinz. 1963. The Behavioral Persuation in Politics. New York: Random House

     
  66. ชาญวิทย์ ธีระพร

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:25 PM

    นาย ชาญวิทย์ ธีระพร รหัส 5117441010 รปศ. ปี 4 หมู่ 1
    ศารตราจารย์สเตวาส์ ( อ้างในสมบัติ จันทรวงศ์ ,2546 หน้า 4 ) กล่าวว่าการกระทำทางการเมืองทั้งปวงย่อมจะเปลี่ยนเเปลงหรือรักษาไว้เพื่อมุ่งจะเปลี่ยนเเปลงก็ต้องเป็นการเปลี่ยนเเปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เมื่อมุ่งที่จะรักษาก็ต้องรักษาสิ่งที่ดีเอาไว้ไม่ให้เปลี่ยนเเปลงไปในทางที่เลวลง

    บรรณานุกรม
    สมบัติ จันทรวงศ์,( 2546 ) ,ปรัชยาการเมืองเบื่องต้น,กรุงเทพ:โครงการการจัดพิมพ์คบไฟ.

     
  67. จีรวัฒน์ บุญเหลือ

    มิถุนายน 9, 2011 at 11:46 PM

    นาย จีรวัฒน์ บุญเหลือ 5117441007 รปศ. ปี 4 หมู่ 1
    เเมค ไอเวอร์ ( mac-Iver 1955 : 22 ) เห็นว่าการเมืองคือการศึกษาในเรื่องของรัฐ การศึกษาการเมือง ความหมายนี้ เป็นการศึกษาโครงสร้างของรัฐตามตัวกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยเน้นในเรืองกำเนิดเเละลักษณะของรัฐ องค์ประกองของมลรัฐซึ่งเเม็ค ไอเวอร์เห็นว่าที่สำคัญมี 4 ประการคือ ประชากร ดินเเดน รัฐบาล เเละอำนาจอธิปไตย

    บรรณานุกรม
    ผศ.จันทิมา เกษเเก้ว,( 2540 ),การเมืองการปกครอง,กรุงเทพ:ฝ่ายเอกสารเเละตำรา สถาบัญราชภัฏสวนดุสิต.

     
  68. น.ส.ศิรินาฏ ศิลสังวรณ์ รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441040

    มิถุนายน 10, 2011 at 12:39 PM

    ฮันส์ เจ มอแกนเธา (อ้างใน นงเยาว์ พีระตานนท์ 2541 หน้า 7) กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่อการมีอำนาจ

    บรรณานุกรม
    นงเยาว์ พีระตานนท์,(2541),การเมืองการปกครอง,กรุงเทพ:สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

     
  69. นางสาวพุทธชาติ มีมาก รปศ.ปี4 หมู่ 1 รหัส 5117441029

    มิถุนายน 10, 2011 at 12:56 PM

    ส่งใหม่ค่ะ
    มาเคียเวลลี่ (อ้างใน สุขุม นวลสกุล,2523 หน้า12) กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ นักการเมืองปราถนาที่จะได้มาหรือผดุงไว้ซึ่งอำนาจ เรื่องของการเมืองไม่อาจที่จะคำนึงถึงคุณธรรมหรือค่าแห่งศีลธรรม จุดประสงค์ของการเมืองคือการรักษาหรือเพิ่มอำนาจทางการเมืองโดยเฉพาะ และมาตราฐานที่จะใช้วัดในเรื่องนี้คือความสำเร็จตามจุดประสงค์ดังกล่าวเท่านั้น

    บรรณานุกรม
    สุขุม นวลสกุล,(2532),ทฤษฏีการเมือง2,กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

     
  70. นายธนาวัฒน์ เพ่งพินิจ รปศ.ปี4 หมู่ 1 รหัส 5117441016

    มิถุนายน 10, 2011 at 1:03 PM

    ศาสตราจารย์ ด๊อยช์ (อ้างใน จรูญ สุภาพ,2519หน้า182) กล่าวว่า การเมืองคือการตัดสินใจหรือมีข้อตกลงใจโดยวิธีการที่เรียกกันว่า public means คือ ให้ส่วนรวมได้มีส่วนร่วมหรือโดยองค์การที่เป็นสาธารณะ

    บรรณานุกรม
    จรูญ สุภาพ,(2519),ระบบการเมืองเปรียบเทียบ(ประชาธิปไตย:เผด็จการ)และหลักวิเคราะห์การเมืองแผนใหม่,กรุงเทพ:ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

     
  71. อภิสิทธิ์ พุทธรักษา รปศ ปี2หมู่3 ลงเพิ่ม 5314443041

    มิถุนายน 10, 2011 at 2:42 PM

    เดวิด อีสตัน บอกไว้ว่าการเมืองคือการแบ่งปันสิ่งที่มีคุนค่าในสังคมเพราะฉะนั้นอำนาจในการจัดสรรแบ่งปันสิ่งที่มีคุณค่าในสังคมจะเป็นอำนาจสูงสุดที่อาจจะมีการจัดสรรเป็นรายๆไป

    บรรณานุกรม ชื่อหนังสือ การปกครองไทย พิมท์ครั้วที่ 1 ธันวาคม 2549

     
  72. น.ส.ศิรินาฏ ศิลสังวรณ์ รปศ. ปี 4 หมู่ 1 รหัส 5117441040

    มิถุนายน 10, 2011 at 2:54 PM

    ส่งใหม่ค่ะ

    มารูยามา มาซาโอะ (อ้างใน อนันต์ เกตุวงค์,2523 หน้า 274) กล่าวว่า การจัดระเบียบการควบคุมที่คนใช้กับคน

    บรรณานุกรม
    อนันต์ เกตุงศ์,(2523),การบริหารการพัฒนา,กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

     
  73. 5314443045

    มิถุนายน 10, 2011 at 3:01 PM

    นาย เอกชัย อินทร์อุดม รปศ ปี2 หมู่3 ลงเพิ่ม 5314443045

    ระบอบเผด็จการตามแนวคิดของ โรเบิห์ต ดาห์ล(Dahl, 1977: 7)หมายถึงระบอบการเมืองที่มีโอกาสการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
    ถูกจำกัดอยู่กับบุคคลจำนวนน้อยของระบบการเมืองแบบเผด็จการมีแนวคิดพื้นฐานที่เป็นหลักการ

    บรรณานุกรม จรูญ สุภาพ. หลักรัฐศาสตร์.กรุงเทพ : ไทยวัฒนาพานิช,2510

     
  74. jamjureebell

    มิถุนายน 10, 2011 at 4:35 PM

    นางสาวจามจุรี ใจมั่น รปศ ปี 4 หมู่ 4 รหัส 5117444007

    พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา่ กล่าวไว้ว่า การดำเนินงานทางการเมือง ต้องยึดหลักความเป็นธรรมและความเป็นไทย และระบอบรัฐธรรมนูญเป็นระบอบที่เิดินสายกลาง ( อ้างใน นครินทร์ เมฆไตรรัตน์,2546 หน้า376 )

    บรรณานุกรม
    นครินทร์ เมฆไตรรัตน์,(2546)ความคิดและความรู้อำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475, กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

     
  75. ศิริพร กัญญพิลา

    มิถุนายน 10, 2011 at 4:49 PM

    นางสาวศิริพร กัญญพิลา รปศ.ปี 4 หมู่ 4 รหัส 5117444039

    ทฤษฎีการเมืองของโทมัส ฮอบส์ กล่าวว่า ระบบประชาธิปไตยที่ดี จะต้องผูกกฏของสังคมไว้กับข้อบังคับ และระเบียบที่เข้มแข็งและเด็ดขาด บางครั้ง ผู้มีอำนาจปกครอง จะต้องดึงและเหวี่ยงแนวความคิดของสังคมให้หมุนไปในทิศทางเดียวกัน (อ้างใน ดร.กวี อิศริวรรณ, 2527 หน้า2)

    บรรณานุกรม
    ดร. กวี อิศริวรรณ,(2527)แนวความคิดทางการเมือง, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์

     
  76. นาย ธนวัฒน์ แสงผ่อง หมู่4 5117444056

    มิถุนายน 10, 2011 at 5:00 PM

    Burke (อ้างถึงใน ปรีชา หงษ์ไกรเสิศ, 2546, หน้า 13) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ กล่าวว่า คณะบุคคลที่รวมตัวกันเพื่อช่วยส่งเสริม ผลประโยชน์ของชาติ โดยการรวมตัวนั้นตั้งอยู่บนหลักการบางประการที่พวกเขาทั้งหลาย มีความเห็นพ้องด้องกัน

    บรรณานุกรม

    ปรีชา หงษไกรเลิศ. (2546). การพัฒนาระบบพรรคการเมืองเพื่อสร้างเสลียรภาพทาง การเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจ้กร.

     
  77. นายพงษ์พัฒน์ ทวีวัฒิน์ รปศ. ปี 4 หมู่ 1 หรัส 5117441025

    มิถุนายน 10, 2011 at 6:41 PM

    Lucian W. Pye(อ้างใน สุนทร พูนเอียด,2526 หน้า 20) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า การเมืองคือทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก เกี่ยวกับกระบวนการทางการเมืองสิ่งดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของ บุคคลในระบบการเมืองโดยครอบคลุมทั้งอุดมการทางการเมือง และปทัสถานในทางปฏิบัติของบุคคลในระบบการเมืองนั้น

    บรรนานุกรม
    สุนทร พูนเอียด,(2526),พื้นฐานการเมืองและการปกครองของไทย,สุราษฎร์ธานี : วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี

     

ส่งความเห็นที่ วรรณศักดิ์ ศรีประเสริฐ ยกเลิกการตอบ