RSS

กิจกรรมที่ 4 *** ให้นักศึกษาส่งกิจกรรมในคอลัมภ์นี้ ค่ะ ***

ให้นักศึกษาไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาแนวคิด ความคิดเห็น ฯลฯ เกี่ยวกับ การปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่น จากแนวความคิดของนักการศึกษา นักการเมือง สื่อ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างน้อย 2 คนขึ้นไป จากหนังสือ เอกสาร ตำรา วารสาร เป็นต้น (ดังตัวอย่างต่อไปนี้)

ตัวอย่าง
ทินพันธ์ นาคะตะ (2543:185-186) กล่าวว่า มีหลักฐานที่นักวิชาการได้ศึกษาเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นกันมากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่สังคมส่วนมากพยายามยึดถือเป็นหลัก ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยนี้ ถือว่า อำนาจหน้าที่อันชอบธรรมในการปกครองนั้น จะต้องมาจากประชาชน หรือได้รับความนิยมจากประชาชน อาจจะด้วยการที่กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจโดยตรง หรือ โดยทางอ้อม …………….

บรรณานุกรม
ทินพันธ์ นาคะตะ. (2543).รัฐศาสตร์ แนวความคิด ปัญหาสำคัญและแนวทางศึกษาวิเคราะห์การเมือง.พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ.โครงการเอกสารและตำราสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า.

***นักศึกษาจะต้องระบุแหล่งที่มาของข้อมูลมาให้ครบถ้วน ****
ให้นักศึกษาเขียนลงในใบงานอย่างน้อย 1 หน้ากระดาษ A4 พร้อมทั้งส่งข้อมูลที่ได้ศึกษามาทั้งหมดลงใน https://ajaniew.wordpress.com/

 

30 responses to “กิจกรรมที่ 4 *** ให้นักศึกษาส่งกิจกรรมในคอลัมภ์นี้ ค่ะ ***

  1. ajaniew

    พฤษภาคม 14, 2011 at 3:33 PM

    กำหนดการส่งงาน
    1. ส่งงานผ่านเน็ท ก่อน วันที่ 4 มิถุนายน 2554
    2. ส่งใบงานในวันที่ 4 มิถุนายน 2554 เท่านั้น!!!!!

     
  2. ฉัตรชัย

    พฤษภาคม 26, 2011 at 1:57 PM

    กิจกรรมที่ 3 วิชา การปกครองท้องถิ่นไทย
    จักษ์ พันธ์ชูเพชร(2537:112-113) กล่าวว่าประชาธิปไตยเป็นศัพท์ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ในความแพร่หลายนั้นกลับเป็นการนำไปใช้ที่มีความแตกต่างกันทั้งในแง่รากฐานความคิดและการปฏิบัติ ดังจะเห็นได้จากการนำคำว่าประชาธิปไตยไปใช้ในประเทศที่มีการปกครองด้วยระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสม์ โดยเรียกการปกครองของประเทศตนว่าเป็นระบบประชาธิปไตยของประชาชน (Peoles Democrdcy) โดยอธิบายว่าประชาธิปไตยที่ถูกต้องจะต้องเป็นการปกครองเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม เป็นการเน้นรูปแบบการปกครองที่มีรัฐบาลเพื่อประชาชน แต่มิใช่รัฐบาลโดยประชาชน (Ranneey,1962:172-173) การปกครองในประเทศที่ยึดมั่นในระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสม์จึงมักมีพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายได้เพียงพรรคการเมืองเดียวถึงแม้จะมีการเลือกตั้ง แต่ก็เป็นเพียงการเลือกบุคคลที่มาจากพรรคการเมืองเดียวกัน การเลือกตั้งในลักษณะนี้จึงเป็นการแข่งขันในแง่ผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ.
    บรรณานุกกรม
    จักษ์ พันธ์ชูเพชร.(2537).รัฐศสาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 4.ปทุมธานี:บริษัทมายด์พันลิชชิ่ง.

    บุญศักดิ์ แสงระวี (2549:178-179) กล่าวว่าระบอบประชาธิปไตยของฝ่ายตะวันตกได้ผ่านการพัฒนาแลละปรับความสมบูรณ์เป็นเวลาหลายร้อยปีจึงบรรลุถึงระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีคนไม่น้อยว่าระบอบประชาธิปไตยของประเทศลัทธิทุนนิยมมีความสมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ เทคนิคการปกครองก็มีหลักเกณฑ์ขึ้นเรื่อยๆ มาตรการการปกครองก็มีรูปแบบมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม ทว่าแม้ในตัวตนของมันเองหรือการนำเอาไปใช้และเผยแพร่ในหลายๆ ประเทศ พอเริ่มต้นก็จะเห็นถึงความบกพร่องหรือกระทั้งมีปัญหาที่ร้ายแรงอยู่มากมาย แม้จะได้ผ่านการปรับปรุงแก้ไขจุดช่องโหว่กันครั้งแล้วครั้งเล่าก็ไม่วายที่จะแสดงให้เห็นว่ามันหาได้ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นแม่บทที่หมดจดงดงามแต่ประการใดไม่.
    บรรณานุกกรม
    บุญศักดิ์ แสงระวี.(2549).ประชาธิปไตยลัทธิสังคมนิยมของจีน
    พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร:ฝ่ายรงพิมพ์บริษัทตถาตา พันลิเคชั่น

    นายฉัตรชัย เข็มดี สาขาวิชาพัฒนาชุมชน รุ่น 34 เลขที่ 5027024005

     
  3. นางสาวจรูญเนตร บุญทัน

    พฤษภาคม 27, 2011 at 12:20 PM

    นางสาวจรูญเนตร บุญทัน
    เอกพัฒนาชุมชน 35 เลขที่ 2

    การปกครองท้องถิ่น ก็คือประชาธิปไตยท้องถิ่น
    อเนก เหล่าธรรมทัศน์ (2545:46-48) การปกครองท้องถิ่น คือ ประชาธิปไตยท้องถิ่น ด้านประชาธิปไตยนี่สำคัญที่สุด การคิดว่าท้องถิ่นเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น ไม่ใช่เป็นองค์ประกอบท้องถิ่น นี่ก็คือ ธรรมเนียม จารีตเดิม หรือวิธีคิดเดิมของบรรดาคนที่มีความรู้ คนที่มีการศึกษา ในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475นั่นเอง
    เช่น รัชการที่ 7 ท่านพูดถึงปัญหาที่ประเทศไทยยังเป็นประชาธิปไตยยังไม่ได้ และท่านก็บอกว่า ถ้าจะเร่งรีบมีประชาธิปไตย เร่งให้รัฐธรรมนูญกับราษฎรไทย ท่านเห็นว่า มีอยู่สองเรื่องที่จะต้องทำ อย่างหนึ่งคือ ต้องเร่งรีบให้การศึกษาการเมืองแก่ประชาชน กับอีกหนึ่งท่านบอกว่า ต้องสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น เพราะฉะนั้นความเห็นพระปกเกล้า ที่ผมตีความ คือ ท่านคิดว่ารากฐานหรือหัวใจของประชาธิปไตย คือ ประชาธิปไตยท้องถิ่น ถ้ามีประชาธิปไตยท้องถิ่น ก็จะต้องทำให้คนมีทักษะมีฉันทะมีสำนึกที่จะเป็นพลเมือง แล้วนอกจากนี้ก็สร้างประชาธิปไตยได้

    บรรณานุกรม
    อเนก เหล่าธรรมทัศน์ . (2545).วิสัยทัศน์ การปกครองท้องถิ่น และแผนกระจายอำนาจ .พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ.ไททรรศน์

    ประชาธิปไตยท้องถิ่นบทเรียนจากฟิลาเดลเฟีย
    ดร.ถวิลวดี บุรีกุล (2552:24-26) สหรัฐอเมริกามีประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตย มากกว่า 200ปีนานกว่าประเทศไทยหลายเท่านัก เนื่องจากผู้คนที่อพยพมา จากประเทศต่างๆมุ่งหาเสรีภาพ และต่อสู้กับรัฐบาลของประเทศตน โดยเฉพาะอังกฤษเพื่ออิสรภาพ จนสามารถดำรงความเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
    การเป็นประชาธิปไตยของสหรัฐได้ฝังรากลึกมานานและสั่งสมมาหลายชั่วอายุคน ทุกคนจะถูกสอนถึงการมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่พลเมืองตั้งแต่เด็กๆครูทุกคนต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการเมือง การปกครองของสหรัฐ เพื่อไปสอนเด็กๆให้รู้จักประชาธิปไตยทั้งเนื้อหาและกระบวนการของการเป็นประชาธิปไตย ทำให้เด็กๆ กล้าพูด กล้าทำ สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างมั่นใจ การเป็นประชาธิปไตยของประเทศนี้ จัดว่า มีทุกระดับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเค้าก็มีการใช้แนวประชาธิปไตย แบบมีส่วนร่วมอย่างมาก หลายเมือง มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ มีโครงการรณรงค์ให้เยาวชนหันมาสนใจเรื่องชุมชน มีการสร้างกลุ่มประชาสังคมมากมาย ทั้งอาสาสมัครที่ทำหน้าที่ต่างๆ
    และที่สำคัญคือการเข้ามาเป็นกรรมการตรวจสอบเรื่องซับซ้อนผลประโยชน์ ของนักการเมืองท้องถิ่นทุกคน กรรมการนี้มีทุกระดับตั้งแต่ ท้องถิ่น รัฐ และประเทศ นอกจากนี้เมืองฟิลาเดลเฟีย มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในหลายๆด้านโดยเฉพาะการรับฟังผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
    บัดนี้ฟิลาเดลเฟีย เมืองที่กำเนิดรัฐธรรมนูญของสหรัฐจึงเป็นเมืองที่เสริมสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ทั้งระดับชาติ และท้องถิ่น เพราะการเรียนการสอนประชาธิปไตยมีมานานแล้วทั้งที่บ้าน โรงเรียน เเละในชีวิตประจำวัน

    บรรณานุกรม
    ดร.ถวิลวดี บุรีกุล .(2552).ธรรมาภิบาลท้องถิ่น บทเรียนจากต่างแดน.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ. ธรรมดาเพรส จำกัด

     
  4. นาย วีระยุทธ คุณพระเมตตา เลขที่5027024025 การพัฒนาชุมชน รุ่น34

    มิถุนายน 1, 2011 at 11:31 AM

    1. ฮาร์ดี้ วิควอร์ (2542 : 40-41) กล่าวว่า ในแง่หนึ่งของการปกครองท้องถิ่นเกิดขึ้นก่อนรัฐ-ชาติด้วยซ้ำ เพราะการปกครองท้องถิ่นนั้นเป็นลูกหลานของชุมชนโบราณ และมันสะท้อนประวัติศาสตร์ธรรมชาติของมนุษย์ยิ่งกว่าส่วนใดๆ ของอารยธรรมสมัยใหม่ ฉะนั้นการปกครองท้องถิ่นจึงมิใช่เขตการปกครองที่รัฐแบ่งออกเป็นส่วนๆ เพียงเพื่อสะดวกในการบริหารหรือการจัดการด้านการศึกษา แต่มันเป็นส่วนของรัฐบาลของชาติที่ท้องถิ่นไม่ยอมยกให้แก่รัฐ แต่ชุมชนซี่งเป็นผู้ให้เกิดการปกครองท้องถิ่นได้รักษาไว้ตลอดมา
    การปกครองท้องถิ่นยังสร้างค่านิยมแบบประชาธิปไตยที่สำคัญ 2 อย่างคือ ความชอบธรรม
    ของเหตุผลของแต่ละคน และความจำเป็นที่จะต้องคัดเลือกเหตุผลเหล่านั้นว่าอันไหนมีความเหมาะสมที่สุด ความเป็นเหล่านี้ เป็นพื้นฐานสำคัญของระบบการปกครองท้องถิ่น ซึ่งทำให้เกิดประเพณีการปกครองท้องถิ่นแบบประชาธิปไตยที่มั่นคงในประเทศ
    บรรณานุกรม
    ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2542) 100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2440-2540 กรุงเทพฯ.
    โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
    2. รศ.วิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ.(2544 : 415) กล่าวว่า การปกครองท้องถิ่น เป็นการจัดระเบียบการปกครองตามหลักฐาน การกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) โดยรัฐหรือรัฐบาลกลางมอบอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นไปดำเนินการปกครองตนเองและจัดการบริการสาธารณะบางอย่าง เพื่อสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นโดยมีอิสระตามสมควรภายในขอบเขตของกฎหมาย การมอบอำนาจให้ท้องถิ่นที่ทำให้เกิดสภาพการปกครองตนเอง หรือการปกครองตนเองในท้องถิ่น
    ประเทศต่างๆ ที่มีการปกครองตามอุดมการณ์ในระบอบประชาธิปไตยจะส่งเสริมให้มีการกระจายอำนาจ เพื่อให้ประชาชนมีการปกครองตนเองในท้องถิ่นและให้ท้องถิ่นสามารถจัดทำบริการสาธารณะบางอย่างให้เป็นไปตามความต้องการและเป็นประโยชน์ของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ทำให้มีส่วนเสริมสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติทั้งในด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม และการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและการบริหารท้องถิ่นนี้ถือได้ว่าเป็นการช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในทางการเมืองตามระบบประชาธิปไตยอีกด้วย ซึ่งเปรียบเทียบสถาบันฝึกสอนประชาธิปไตยในทางปฎิบัติการปกครองท้องถิ่นจึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นรากฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วย
    รศ.วิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ. (2544) การเมืองและการปกครองไทย สำนักมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

     
  5. ajaniew

    มิถุนายน 1, 2011 at 12:26 PM

    1 ตอบกลับที่ ประกาศวิชาการปกครองท้องถิ่นไทย

    นิชาภา เจริญงาม

    พฤษภาคม 28, 2011 at 8:22 AM

    บุญศักดิ์ แสงระวี ( 2549 : 59 ) กล่าวว่า วิถีดำเนินทางทางประวัติศาสตร์แห่งการปฏิวัติของจีน จะต้องแบ่งออกเป็น 2 ก้าว ก้าวแรกคือการปฏิวัติลัทธิประชาธิปไตย, ก้าวที่สองคือการปฏิวัติสังคมนิยม นี่เป็นกระบวนการแห่งการปฏิวัติสองกระบวนที่มีลักษณะแตกต่างกัน และที่เรียกว่าปฏิวัติลัทธิประชาธิปไตย, ก้าวที่สองคือการปฏิวัติสังคมนิยม นี่เป็นกระบวนการแห่งการปฏิวัติสองกระบวนที่มีลักษณะแตกต่างกัน และที่เรียกว่าลัทธิประชาธิปไตยนั้น เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ลัทธิประชาธิปไตยในปริมณฑลใหม่หรือลัทธิประชาธิปไตยไม่
    จากนี้ก็พูดเด็ดขาดไปได้ว่า ที่เรียกว่าการเมืองใหม่ของประชาชาติจีนนั้นก็คือการเมือแห่งลัทธิประชาธิปไตยใหม่ ที่เรียกว่าเศรษฐกิจใหม่ของประชาชาติจีนนั้นก็คือเศรษฐกิจแห่งลัทธิประชาธิปไตยใหม่ และที่เรียกว่าวัฒนธรรมใหม่ของประชาชาติจีนนั้น ก็คือวัฒนธรรมแห่งลัทธิประชาธิปไตย

    บรรณรานุกรม
    บุญศักดิ์ แสงระวี ประชาธิปไตยลัทธิสังคมนิยมของจีน – กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ , 2549. 192 หน้า

    สุรชาติ บำรุงสุข ( 2535 : 106 ) กล่าวว่า หลังจากวิกฤตการณ์นองเลือดในเดือนพฤษภาคม 2535 แล้ว เห็นได้ชัดถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับภายในประเทศและในระดับระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อบทบาทของกองทัพในเมือไทยอีกทั้งในช่วงระยะเวลาเช่นนี้ “กระแสประชาธิปไตย” (democratic wave) มีฐานะสูงเป็นอย่างยิ่ง
    ในสภาวะที่ประชาธิปไตยเป็นกระแสสูงอย่างมากเช่นนี้ การพูดถึง “รัฐประหาร” ดูจะเป็นการผิดเวลาและผิดสถานที่เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องที่มองไม่เห็นถึงความสำเร็จแต่อย่างใด อีกทั้งในภาวะหลังจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวแล้วผู้นำทางทหารเองก็ได้ประกาศจุดยืนที่จะนำเอากองทัพกลับเข้ากรมกอง ด้วยคำกล่าวที่ว่า “ทหารอาชีพไม่ยุงการเมือง” หลังจากปี 2535 อันส่งผลให้โอกาสของความสำเร็จของการรัฐประหารในระยะผ่านสู่ประชาธิปไตยของไทยเข้าสู่ระยะของการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า “ยุคของการจรรโลงประชาธิปไตย”

    สุรชาติ บำรุงสุข, มติชน สุดสัปดาห์ (2535) รัฐประหารสังคมไทยหลังจากวิกฤตการณ์ปี 2535
    กรุงเทพฯ. โครงการอเมริกาศึกษาและเคนดาศึกษา
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     
  6. ajaniew

    มิถุนายน 1, 2011 at 12:28 PM

    1 ตอบกลับที่ การเรียนการสอน

    สุกิจ กิตติศาสตรา

    พฤษภาคม 24, 2011 at 10:01 AM

    สุกิจ กิตติศาสตรา ส่งงานครับ
    5127021015 พช ’35
    ความสำคัญการปกครองท้องถิ่น
    โกวิทย์ พวงงาม. (2543 : 25) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
    1. เป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นสถาบันฝึกสอนการเมืองการปกครองให้แก่ประชาชน ทำให้เกิดความคุ้นเคยในการใช้สิทธิ และหน้าที่ พลเมือง อันจะนำมาสู่ความศรัทธาเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตย
    2. เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล
    3. ทำให้ประชาขนรู้จักการปกครองตนเอง เพราะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมี ส่วนร่วมทางการเมือง
    4. สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นตรงเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ
    5. เป็นแหล่งสร้างผู้นำทางการเมือง การบริหารของประเทศในอนาคต
    6. สอดคล้องกับแนวคิดในการพัฒนาชนบทแบบพึ่งตนเอง

    การปกครองส่วนท้องถิ่น
    ประชาชนจะมีส่วนร่วมอย่างไร ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

    โกวิทย์ พวงงาม. (2543 : 259-261) กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้วางหลักให้ประชาชน ในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่บัญญัติไว้ในหมวดที่ 9 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น และหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวไทย การมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นที่กระทำกันโดยทั่วไป แต่มักอยู่ในวงจำกัดในเรื่องการให้ประชาชน กลุ่ม องค์กรชุมชน สามารถลงสมัครสมาชิกสภาท้องถิ่นโดยตรง และมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น อันถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยตรง
    สำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ระบุไว้ในหมวดว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
    1. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมิได้จำกัดการถอดถอนไว้ให้เป็นอำนาจของ “รัฐ” เท่านั้น แต่ยังขยายไปสู่ “ประชาชน” ให้มีอำนาจในส่วนนี้ด้วย
    2. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติสิทธิให้ประชาชนเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นได้
    3. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน นอกจากเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผู้แทนของตนในองค์กรบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถเข้าร่วมกับองค์กรบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นระดับต่างๆ เช่น ระดับชาติ ระดับท้องถิ่นแต่ละประเภท ระดับจังหวัด หรือระดับท้องถิ่นแต่ละแห่ง โดยการเข้าร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีจำนวนหนึ่งในสามของกรรมการ
    นอกจากนี้แล้ว ประชาชนยังมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่นที่บัญญัติไว้ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ดังนี้
    1. ให้ประชาชนมีส่วนในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นตนเอง
    2. ให้ประชาขนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการส่วนท้องถิ่น
    3. ให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการประชาพิจารณ์ได้

    บรรณานุกรม
    โกวิทย์ พวงงาม. (2543). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 2.
    กรุงเทพฯ. วิญญูชน จำกัด.

    การปกครองท้องถิ่นในโลกตะวันตก
    สหรัฐอเมริกา
    ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2550 : 217-220) กล่าวว่า “The township was organized before the county, the county before the stage, the stage before the union” “ชุมชนตั้งขึ้นก่อนจังหวัด จังหวัดตั้งขึ้นก่อนรัฐ และรัฐก่อตั้งขึ้นก่อนการรวมกันตั้งเป็นประเทศ”
    สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเกิดใหม่เมื่อเทียบกับประเทศทั้งหลายในยุโรปตะวันตก การปฏิวัติของอเมริกันเกิดผลกระทบต่อประเทศ ทวีป และต่อโลก ดังนี้
    1. ทำให้เกิดรัฐใหม่ที่เป็นเอกราช
    2. เป็นประเทศแรกของโลกที่ใช้ระบบสหพันธรัฐอย่างเป็นทางการ
    3. สหรัฐอเมริกากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งสิทธิเสรีภาพและการสร้างโอกาสใหม่ที่เท่าเทียมกันแก่ผู้คนทุกคน
    4. เป็นประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก
    พัฒนาการสำคัญของการปกครองท้องถิ่นในสหรัฐฯ
    ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2550 : 224, 227-229) ได้ศึกษาลักษณะเฉพาะการปกครองท้องถิ่นชุมชนอเมริกัน และพัฒนาการของการปกครองท้องถิ่น พบว่า Kenneth Lockridge นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ได้ศึกษาเมือง Dedham ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบอสตันมากนัก เขตนิวอิงแลนด์ เป็นสังคมที่มีระบบการเมืองแบบผสมระหว่างประชาธิปไตยกับคณาธิปไตย
    ข้อสรุปของ Lockridge ต่อเมือง Dedham จึงมีว่า
    “นี่คือคณาธิปไตยที่มิใช่คณาธิปไตย และประชาธิปไตยที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย” ที่เป็นเช่นนี้เพราะวัฒนธรรมการเมืองในยุคนั้นเป็นเช่นนั้น โดยอ้างแนวคิดที่ว่าสังคมมนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะเกิดปัญหา เนื่องจากมีความขัดแย้งกัน มนุษย์มีแนวโน้มที่จะทำผิดและก่อบาป ดังนั้น รัฐจึงต้องการผู้นำที่มีความเข้มแข็ง และสามารถควบคุมพฤติกรรมของผู้คนได้
    การไม่มีสิทธิทางการเมืองและค่านิยมแบบคณาธิปไตยดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น จะทำให้ระบบ
    การเมืองแบบประชาธิปไตยลดลงหรือไม่ในเวลาต่อมา

    บรรณานุกรม
    ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2550). การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น. กรุงเทพฯ.
    โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

    (แก้ไข)ตอบกลับ

     
  7. นายประเสริฐ ทวีธนาทรัพย์ 5027024018 พช. 34

    มิถุนายน 1, 2011 at 3:23 PM

    วีรวัฒน์ ภักตรนิกร นายกสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
    แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน
    วีรวัฒน์ ภักตรนิกร (2549:28-29)กล่าวว่าเรื่องที่ผมให้ความสนใจในระยะแรกก็เหมือนกับนายกเทศมนตรีที่อื่นๆ ทั่วไปนั่นก็คือเราจะทำอย่างไรให้น้ำไหล ไฟสว่าง เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญและมีความจำเป็น การเดินทางก็ต้องให้สะดวกสบาย เพราะเราอาสาเข้ามาทำงานเพื่อพวกเขา ดังนั้นเราก็ต้องยอมเหนื่อยที่จะต้องพัฒนา ต้องยอมที่จะลุยงานทั้งกลางวันกลางคืน ต้องเป็นนักประสานที่ดีเพื่อให้ท้องถิ่นของเราที่เรารับผิดชอบเจริญ
    สำหรับเรื่องที่จะต้องเร่งให้การสนับสนุนเป็นการด่วนในขณะนี้นั่นคือเรื่องของการศึกษา เพราะทุกวันนี้การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กทุกคน ดังนั้นโรงเรียนแห่งไหนที่ขาดบุคลากรหรือให้รีบแจ้งมาที่ทางเทศบาลได้เลย เพราะทางเทศบาลพร้อมที่จะให้การสนับสนุนอยู่แล้ว ส่วนในเรื่องของทุนการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เด็กคนไหนเรียนดีมีทุนให้ เทศบาลพร้อมที่จะทำให้โรงเรียนในเขตเทศบาลนั้นมีคุณภาพเทียบเท่าโรงเรียนชั้นนำ ซึ่งในเรื่องนี้บอกได้เลยท้องถิ่นทุกที่ก็พร้อมที่จะให้การดูแล
    “เรื่องการศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญตอนนี้เทศบาลยโสธรให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง เราจัดงบประมาณเรื่องการนี้โดยเฉพาะเรื่องของเด็กจะต้องได้รับการปลูกฝังให้ได้รับการศึกษาที่ดี จะต้องมีเครื่องอำนวยสะดวกอย่างเต็มที่ คุณครูก็จะได้รับการดูแลที่ดีจากเทศบาลเพื่อจะได้มีกำลังใจในการสอน เพราะผมเชื่อว่าเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า ดังนั้นหากเราให้เขาได้เจอ ได้เรียนปลูกฝังในสิ่งดี อนาคตของลูกหลานเราก็จะดี”
    ด้านการบริหารนั้นนายกอี๊ดบอกว่าเขาต้องการให้ประชาชน ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยจะให้ชุมชนแต่ละชุมชนช่วยกันคิดโครงการว่าแต่ละชุมชนนั้นต้องการอะไรบ้าง ส่วนทางเทศบาลก็จะเป็นผู้สนับสนุนทางด้านงบประมาณ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนทางด้านการเงิน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูความเหมาะสมด้วยว่าโครงการนั้นๆดีหรือไม่ ไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาให้อย่างเดียว
    “โครงการแต่ละโครงการนั้นเราจะดูถึงความเหมาะสมว่าเป็นไปตามของยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้หรือไม่ซึ่งส่วนใหญ่ยุทธศาสตร์ที่ทางเทศบาลวางไว้ก็จะคล้ายๆ ของทางรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา เรื่องการส่งเสริมอาชีพ เรื่องการแก้ปัญหาความยากจน เป็นต้น เช่นเดียวกับเรื่องของนโยบายโดยรวมนั้น ก็ไม่มีอะไรมาก เพียงแต่คิดว่าจะทำอย่างไรให้ถูกใจชาวบ้าน ชาวบ้านต้องการอะไรหรือว่าขาดเหลือตรงจุดไหนเราก็เข้าไปหาเข้าไปคุย เรียกว่าต้องลงพื้นที่ให้ทั่วเพื่อที่จะรู้ถึงปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่ว่าหลับหูหลับตาให้ เราต้องลงไปดูจริงๆ ว่าเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ซึ่งในแต่ละโครงการนั้นต้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม โดยให้แต่ละคนนั้นออกความคิดเห็นได้เต็มที่แต่สุดท้ายเราจะใช้เสียงข้างมากเป็นที่สุดเรียกว่าใช้ระบอบประชาธิปไตยเป็นหลัก”
    “ผมมั่นใจว่าตอนนี้ท้องถิ่นมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้นและจะดีขึ้นเรื่อย ๆ”
    บรรณานุกรม
    วีรวัฒน์ ภักตรนิกร.(2549,มีนาคม).แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน.ท้องถิ่น.46(3),28-29

    .ทวี ธรรมอดิศัย (2550:44-45) กล่าวว่า“เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีความสุข”
    ในแวดวงข้าราชการสังกัดเทศบาลโดยเฉพาะปลัดเทศบาลทั่วประเทศจะรู้จักผู้ชายคนนี้อย่างแน่นอนซึ่งคนนั้นคือ ทวี ธรรมอดิศัย ปลัดเทศบาลนครเชียงราย
    แนวคิดในการพัฒนาเทศบาลนครเชียงราย ปลัดทวีได้ย้อนความหลังปูพื้นให้ฟังก่อนว่าตัวเขาย้ายมาอยู่เชียงรายเมื่อเก้าปีที่แล้ว สภาพในขณะนั้นที่นี่ยังค่อนข้างเงียบสงบ มีสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นเมืองที่มีมลภาวะน้อย ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างสงบ พออยู่พอกิน ใจบุญสุนทาน เป็นเมืองที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กลางคืนสองทุ่มก็แทบไม่มีคนออกจากบ้าน ไฟฟ้าถนนค่อนข้างมืด ไม่เพียงพอ แตกต่างจากเมืองอื่นๆที่เคยอยู่ เช่น ชะอำ หัวหินหรือพัทยาอย่างมากด้วยเหตุและผลดังกล่าวจึงได้ร่วมหารือกับผู้บริหารและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมทั้งร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาเพื่อนำเชียงรายสู่เมืองท่องเที่ยง ที่มีเอกลักษณ์ และลักษณะที่มีความแตกต่างจากเมืองอื่นๆ
    โดยขณะนั้นตัวเขาวางเป้าหมายเอาไว้ชัดเจนว่าจะต้อนเน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และเสริมสร้างสถาปัตยกรรมล้านนา ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้มีมาตรฐาน สร้างความสะดวก ปลอดภัยแก่ประชาชน กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนรวมถึงการเริ่มศึกษา
    พร้อมกันนั้นปลัดทวีก็ได้บอกถึงเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเทศบาลนครเชียงรายว่าตัวเขาคิดง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนแต่ทำยากนั่นก็คือจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีความสุข ประชาชนที่ต้องติดต่อกับหน่วยราชการมักมีความกังวลใจการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการให้บริการประชาชนของพนักงานตลอดจนการปรับปรุงกลไกในส่วนของเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็ว มีความโปร่งใส ปราศจากการเรียกรับผลประโยชน์ เช่นการจัดทำแบบบ้านที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนาไว้บริการประชาชน โดยไม่คิดค่าแบบ
    ตลอดถึงการบริการด้านต่างๆ ที่ประชาชนติดต่อ ต้องบอกระยะเวลาแล้วเสร็จให้ผู้มาใช้บริการรับรู้ การสร้างความเข้าใจ การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรประชาชนต่างๆ ทำให้เกิดความร่วมมือในการวางแผนพัฒนาเทศบาลร่วมกัน อันจะนำไปสู่การแก้ไขหรือบรรเทาปัญหา ซึ่งแน่นอนนี่ก็คือการทำให้ประชาชนมีความสุขนั่นเอง
    สำหรับนโยบายปัจจุบันของเทศบาลนครเชียงรายในขณะนี้นั้นได้กำหนดไว้หลายด้าน ครอบคลุมทุกภารกิจของเทศบาล สำหรับเรื่องที่สำคัญที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องกันมาหลายปีแล้วคือเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิต การจัดการศึกษา ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนา การพัฒนาและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมเศรษฐกิจและสร้างความร่วมมือขององค์กรประชาชน เป็นต้น
    บรรณานุกรม
    ทวี ธรรมอดิศัย . ( 2550 , กันยายน ). เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีความสุข.ประชาคมท้องถิ่น. 7 (79) ,44-45.

     
  8. หัสดายุ หิ้งทอง

    มิถุนายน 1, 2011 at 11:08 PM

    หัสดายุ หิ้งทอง 5027024034 รุ่น34 พัฒนาชุมชน
    หลักการของระบอบประชาธิปไตย

    วิทยากร เชียงกูล

    ความหมายและความสำคัญ

    วิทยากร เชียงกูล(26 มิถุนายน 2550) เขียนว่า ระบอบประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน ตรงกันข้ามกับระบอบอำนาจนิยม ( เช่น ระบอบราชาธิปไตย , ระบอบเผด็จการทหาร, ระบอบอำมาตยาธิปไตย ) ซึ่งเป็นระบอบปกครองโดยคนเดียว หรือโดยคนกลุ่มน้อย ผู้มีอำนาจมากกว่าประชาชนทั่วไป (เรียกว่า พวกอภิสิทธิชน) ในโลกยุคเศรษฐกิจตลาดเสรีสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นพลเมือง ผู้เสียภาษี(ทั้งทางตรงและทางอ้อม) และเป็นเจ้าของสาธารณสมบัติร่วมกัน เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่จะสร้างความมีประสิทธิภาพ(ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ) และความเป็นธรรม ได้มากกว่าระบอบอำนาจนิยม ในบางสถานการณ์ ในระบอบอำนาจนิยม อาจจะมีผู้ปกครองที่เป็นคนดีหรือคนเก่งอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่า เขาหรือลูกหลาน หรือพรรคพวกเขา ที่ได้ตำแหน่งจากการสืบเชื้อสาย หรือการแต่งตั้ง จะปกครองประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมสำหรับคนส่วนใหญ่เสมอไป เพราะระบบสืบเชื้อสายและแต่งตั้งเป็นระบบที่ไม่แน่นอน และไม่มีประสิทธิภาพ และเพราะว่าการให้คนสืบทอดอำนาจโดยไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลมักนำไปสู่การฉ้อฉลเพื่อประโยชน์ส่วนตน ระบอบประชาธิปไตยดีกว่าระบอบอำนาจนิยมในแง่ที่ว่า มีระบบคัดเลือกผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพกว่า และมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปกครองมีอำนาจมากจนเกินไปได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ต้องเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ใช้สักแค่มีการเลือกตั้ง แต่ยังมีการซื้อเสียงขายเสียง การโกง การใช้อำนาจและระบบอุปถัมภ์

    บทความ วิทยากร เชียงกูล (26 มิถุนายน 2550) หลักการของระบอบประชาธิปไตย ชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล

     
  9. หัสดายุ หิ้งทอง

    มิถุนายน 1, 2011 at 11:12 PM

    หัสดายุ หิ้งทอง 5027024034 พัฒนาชุมชนรุ่น34บุญศักดิ์ แสงระวี ( 2549 : 59 ) กล่าวว่า วิถีดำเนินทางทางประวัติศาสตร์แห่งการปฏิวัติของจีน จะต้องแบ่งออกเป็น 2 ก้าว ก้าวแรกคือการปฏิวัติลัทธิประชาธิปไตย, ก้าวที่สองคือการปฏิวัติสังคมนิยม นี่เป็นกระบวนการแห่งการปฏิวัติสองกระบวนที่มีลักษณะแตกต่างกัน และที่เรียกว่าปฏิวัติลัทธิประชาธิปไตย, ก้าวที่สองคือการปฏิวัติสังคมนิยม นี่เป็นกระบวนการแห่งการปฏิวัติสองกระบวนที่มีลักษณะแตกต่างกัน และที่เรียกว่าลัทธิประชาธิปไตยนั้น เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ลัทธิประชาธิปไตยในปริมณฑลใหม่หรือลัทธิประชาธิปไตยไม่
    จากนี้ก็พูดเด็ดขาดไปได้ว่า ที่เรียกว่าการเมืองใหม่ของประชาชาติจีนนั้นก็คือการเมือแห่งลัทธิประชาธิปไตยใหม่ ที่เรียกว่าเศรษฐกิจใหม่ของประชาชาติจีนนั้นก็คือเศรษฐกิจแห่งลัทธิประชาธิปไตยใหม่ และที่เรียกว่าวัฒนธรรมใหม่ของประชาชาติจีนนั้น ก็คือวัฒนธรรมแห่งลัทธิประชาธิปไตย

    บรรณรานุกรม
    บุญศักดิ์ แสงระวี ประชาธิปไตยลัทธิสังคมนิยมของจีน – กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ , 2549. 192 หน้า

    สุรชาติ บำรุงสุข ( 2535 : 106 ) กล่าวว่า หลังจากวิกฤตการณ์นองเลือดในเดือนพฤษภาคม 2535 แล้ว เห็นได้ชัดถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับภายในประเทศและในระดับระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อบทบาทของกองทัพในเมือไทยอีกทั้งในช่วงระยะเวลาเช่นนี้ “กระแสประชาธิปไตย” (democratic wave) มีฐานะสูงเป็นอย่างยิ่ง
    ในสภาวะที่ประชาธิปไตยเป็นกระแสสูงอย่างมากเช่นนี้ การพูดถึง “รัฐประหาร” ดูจะเป็นการผิดเวลาและผิดสถานที่เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องที่มองไม่เห็นถึงความสำเร็จแต่อย่างใด อีกทั้งในภาวะหลังจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวแล้วผู้นำทางทหารเองก็ได้ประกาศจุดยืนที่จะนำเอากองทัพกลับเข้ากรมกอง ด้วยคำกล่าวที่ว่า “ทหารอาชีพไม่ยุงการเมือง” หลังจากปี 2535 อันส่งผลให้โอกาสของความสำเร็จของการรัฐประหารในระยะผ่านสู่ประชาธิปไตยของไทยเข้าสู่ระยะของการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า “ยุคของการจรรโลงประชาธิปไตย”

    สุรชาติ บำรุงสุข, มติชน สุดสัปดาห์ (2535) รัฐประหารสังคมไทยหลังจากวิกฤตการณ์ปี 2535
    กรุงเทพฯ. โครงการอเมริกาศึกษาและเคนดาศึกษา
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     
  10. นางสาวกรรณิกา มีไชย

    มิถุนายน 2, 2011 at 1:00 PM

    เดเนียล วิท นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง รองที่รัฐบาลกลางให้อำนาจ หรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยงานการปกครองท้องถิ่น โอกาสให้ประชาชนในท้องที่ได้มีอำนาจในการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือบางส่วนในการบริหารท้องถิ่น ตามหลักที่ว่า ถ้าอำนาจมาจากประชาชนในท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลของท้องถิ่นก็ย่อมเป็นรัฐบาลของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน ดังนั้นการปกครองท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีองค์กรของตนเอง อันเกิดจากการกระจายอำนาจของรัฐบาลกลางโดยให้องค์กรอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลกลาง มีอำนาจในการตัดสินใจและบริหารงานภายในท้องถิ่นในเขตอำนาจของตน(Deniel wit,1967 : 14 – 21)
    อุทัย หิรัญโต นิยามว่า การปกครองที่รัฐบาลมอบให้อำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งจัดการปกครองและดำเนินกิจการบางอย่างโดยดำเนินการกันเองเพื่อบำบัดความต้องการของตน การบริหารงานของท้องถิ่นมีการจัดเป็นองค์การมีเจ้าหน้าที่ซึ่งประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาทั้งหมด หรือบางส่วน ทั้งนี้มีความเป็นอิสระในการบริหารงานรัฐบาลต้องควบคุมด้วยวิธีการต่างๆตามความเหมาะสม จะปราศจากการควบคุมของรัฐหาได้ไม่เพราะการปกครองท้องถิ่นเป็นสิ่งที่รัฐทำให้เกิดขึ้น(อุทัย หิรัญโต, 2523 :2)
    แฮรีส จี. มอนตากู ( Haris G. Montagu ) ( 1984 : 574) นิยามว่า การปกครองซึ่งหน่วยการปกครองท้องถิ่นได้มีการเลือกตั้งโดยอิสระเพื่อเลือกผู้ที่มีหน้าที่บริหารการปกครองท้องถิ่น มีอำนาจอิสระพร้อมความรับผิดชอบซึ่งตนสามารถที่จะใช้โดยปราศจากการควบคุมของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลางหรือภูมิภาค แต่ทั้งนี้หน่วยการปกครองท้องถิ่นยังต้องอยู่ภายใต้ บทบังคับว่าด้วยอำนาจสูงสุดของประเทศ

     
  11. นางสาววัลลี อัมรินทร์ พัฒนาชุมชนรุ่น 35 เลขที่ 13

    มิถุนายน 2, 2011 at 3:04 PM

    แนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตย

    ประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น แห่งสหรัฐอเมริกา (2543 : 2-4) กล่าวว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ผู้นำทางการเมือง เป็นผู้ที่ถือเสมือน เป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชน รัฐบาลเป็นตัวแทนของนักการเมืองที่มีเสียงข้างมาก หรือได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ รัฐบาลจะคงอยู่ในอำนาจต่อไปได้เมื่อวาระสิ้นสุดลง ก็โดยการแสดงให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้ง เห็นว่า รัฐบาลสามารถตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    บรรณานุกรม
    ประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น แห่งสหรัฐอเมริกา.(2543).คู่มือการพัฒนาประชาธิปไตยในวิถีชีวิต.
    พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ.ชุมนุมสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย.

    สาโรช บัวศรี (25:11-14) ได้ให้ความหมายของประชาธิปไตย เป็น 3 สถานะเรียกว่า องค์สามของประชาธิปไตย คือ
    1.ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ หมายถึง การมีศรัทธา และความเชื่อมั่นในสติปัญญา เหตุผล แลความสามารถของมนุษย์ เทิดทูลอิสรภาพ และเสรีภาพของมนุษย์
    2.ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมือง และวิธีการจัดระเบียบการปกครอง หมายถึง ระบบการเมืองที่ถือว่า อำนาจเป็นของประชาชน หรือมาจากประชาชน มีโอกาสเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจแทนตนได้ โดยการเลือกตั้งที่มีการกำหนดวาระ ถือว่าเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
    3.ประชาธิปไตยในฐานะเป็นวิถีชีวิต หรือการดำเนินชีวิตประจำวัน หมายถึง การอยู่ร่วมกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ ทั้งกายและวาจา ไม่ก้าวก่ายในสิทธิของผู้อื่น เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม ร่วมกันรับผิดชอบและทำประโยชน์ เพื่อความผาสุกส่วนรวม ตลอดจนการใช้สติปัญญา และความเลียวฉลาด แก้ไขปัญหาทั้งหมด ทั้งมวล

    สาโรช บัวศรี.(2543).คู่มือการพัฒนาประชาธิปไตยในวิถีชีวิต.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ.ชุมนุมสหกรณ์
    การเกษตรแห่งประเทศไทย.

    เอ ดี ลินด์เซ่(A.D. Linsay) (2520:53) ให้ความหมายว่า ประชาธิปไตย คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถดำเนินการร่วมกัน โดยไม่สูญเสียเสรีภาพตามที่แต่ละคนปรารถนา
    เอ ดี ลินด์เซ่(A.D. Linsay).(2520) ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ.บริษัท
    สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนพานิช.

     
  12. นายทศพร สัมมา พัฒนาชุมชนรุ่น 35 เลขที่ 6

    มิถุนายน 2, 2011 at 3:06 PM

    แนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตย

    Watson (1985:4) กล่าวว่าระบบการปกครองประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน ก็คือการปกครองที่จะต้องส่งเสริมคุณค่าพื้นฐานของประชาธิปไตย อันได้แก่ เสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรม
    ในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนส่วนใหญ่จะมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการตัดสินใจที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน ดังนั้นการกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจทางการเมืองที่อยู่ภายใต้อิทธิพลการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
    บรรณานุกรม
    Watson. (1985:4).การเมือง แนวความคิดและการพัฒนา.พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์เสมาธรรม

    ฮาโรลด์ ลาสกี้ (Harold Laski) (2520:53) อธิบายว่า เป็นความปรารถนาที่มนุษย์ต้องการรักษาไว้ ซึ่งความสำคัญของตนเอง และความเสมอภาคในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
    บรรณานุกรม
    ฮาโรลด์ ลาสกี้ (Harold Laski). (2520). ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ.
    บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช

     
  13. นันทวัน ลินจง พัฒนาชุมชน 34 เลขที่ 12

    มิถุนายน 2, 2011 at 4:37 PM

    วิลเลียม ริเคอร์. (2539:28-29) กล่าวว่า”ประชาธิปไตยคือรูปของรัฐบาลที่พลเมืองที่มีสัดส่วนมากพอสมควรมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศโดยตรงหรือโดยอ้อมจึงแตกต่างชัดเจนจากรัฐบาลที่คนชนชั้นหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งควบคุม หรือโดยคนๆ เดียว ในประชาธิปไตยโดยตรง พลเมืองออกเสียงลงมติออกกฎหมายในที่ประชุมใหญ่ ดังที่เคยทำในนครรัฐของกรีกโบราณ และในเมืองแถบนิวอิงแลนด์ในปัจจุบันในประชาธิปไตยโดยอ้อม พลเมืองเลือกเจ้าหน้าที่มาเป็นตัวแทนตนในรัฐบาล การมีผู้แทนจึงเป็นแบบอย่างของประเทศประชาธิปไตยสมัยใหม่เท่าที่เข้าใจกันในโลกตะวันตก ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยจึงได้แก่ลักษณะที่ว่าพลเมืองต้องมีอิสระในการพูดและการประชุม เป็นต้น เพื่อจะก่อตั้งพรรคการเมืองต่างๆ มารณรงค์ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถจะเลือกผู้สมัครจากพรรคเหล่านี้ในการเลือกตั้งที่ทำกันอยู่เป็นปกติ” จากนั้นท่านได้ขยายความของคำศัพท์สำคัญต่าง ๆ เช่น การเป็นตัวแทน อธิปไตยปวงชน และอธิบายอุดมการณ์ของประชาธิปไตยว่ารวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ความยุติธรรมในอุดมคติ เสรีภาพที่จะมีความคิดเห็นแตกต่างกัน สิทธิในร่างกายที่จะไม่ถูกจับกุม และความเสมอภาคในการมีโอกาสเท่าเทียมกัน
    สมิธและชูร์เชอร์. (2539:29) การปกครองโดยประชาชน ในทางปฏิบัติหมายถึงว่า อำนาจที่จะตัดสินใจประเด็นปัญหาสำคัญของนโยบายสาธารณะต้องอยู่กับคนจำนวนมากหรือข้างมากของชุมชนนั้น และในการตัดสินใจเช่นนั้นแต่ละคนจะออกเสียงได้เสียงเดียวไม่มีใครจะได้เสียงมากกว่าหนึ่งเสียง ดังนั้นประชาธิปไตยจึงจะอธิบายว่าได้แก่รัฐบาลโดยความยินยอมและความเสมอภาคทางการเมือง ประชาชนใช้อำนาจโดยตรง (เช่นในการลงมติยืนยัน หรือในการประชุมชาวเมือง) หรือโดยอ้อมผ่านสถาบันตัวแทนซึ่งบทบาทของประชาชนจะมาจำกัดอยู่ที่บัตรเลือกตั้งที่จะบังคับความรับผิดชอบให้บังเกิดแก่ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจไป ต่อจากนั้นได้อธิบายความหมายของประชาธิปไตยทางการเมืองว่าตั้งบนพื้นฐานความคิดเรื่องความเสมอภาค สถาบันที่จะค้ำประกันความเสมอภาค การเลือกตั้งสม่ำเสมอ เสรีภาพต่างๆ สิทธิของคนข้างน้อย ความเสมอภาคในโอกาส ศักดิ์ศรีของมนุษย์ การไม่ให้อภิสิทธิ์แก่ผู้ใด การมีโอกาสได้รับบริการของรัฐและสังคมเท่าเทียมกัน ส่วนความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตยมีความหมายกว้างไกลถึงความเสมอภาคในทางเศรษฐกิจ ความเสมอภาคทางสังคม รวมทั้งโอกาสได้รับการศึกษาขั้นต่ำของพลเมืองทั้งปวงและโอกาสศึกษาชั้นสูงของผู้ที่สามารถเรียนได้
    พลาโน และคณะ ให้นิยามว่า เป็น “ระบบการปกครองแบบหนึ่งที่อำนาจทางการเมืองในที่สุดนั้นอยู่ที่ประชาชน ในรัฐประชาธิปไตยพหุนิยมสมัยใหม่ตามปกติอำนาจจะถูกกลุ่มหรือสถาบันต่าง ๆ นำไปใช้ในระบบปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อน ซึ่งจะเกี่ยวโยงถึงการประนีประนอมหรือต่อรองในกระบวนการตัดสินใจอุดมการณ์ของประชาธิปไตย รวมถึงแนวความคิดเหล่านี้ (1) ปัจเจกชนนิยม ซึ่งยึดหลักว่าหน้าที่ของรัฐบาลคือการทำให้เอกชนแต่ละคนได้บรรลุศักยภาพแห่งการพัฒนาที่สูงสุด (2) เสรีภาพซึ่งอนุญาตให้บุคคลทุกคนมีปริมาณเสรีภาพมากที่สุดที่ไม่ขัดต่อความมีระเบียบเรียบร้อยของสังคม (3) ความเสมอภาค ซึ่งถือว่าทุกคนถูกพระเจ้าสร้างขึ้นมาให้เท่าเทียมกัน และมีสิทธิและโอกาสต่างๆ เสมอกันและ (4) ภราดรภาพ ซึ่งอธิบายว่าเอกชนจะไม่ใช้เสรีภาพไปในทางที่ผิด แต่จะร่วมมือกันเพื่อสร้างสังคมที่ดีพร้อม ในฐานะที่เป็นระบบการเมือง ประชาธิปไตยเริ่มต้นด้วยฐานคติแห่งอธิปไตยของปวงชน การมอบอำนาจสูงสุดทางการเมืองให้แกประชาชน ทั้งสมมติว่าคนสามารถควบคุมตากรรมของตนเองได้และสามารถตัดสินปัญหาศีลธรรม และการตัดสินปัญหาภาคปฏิบัติในชีวิตประจำวันของตนเองได้ ทั้งหมายอ้อมถึงการแสวงหาสัจธรรมอย่างต่อเนื่องในความหมายที่ว่าคนจะพยายามปรับปรุงวิถีทางที่จะสร้างสถาบันทางสังคมและการจัดระเบียบความสัมพันธ์ของมนุษย์ให้ดีขึ้น ประชาธิปไตยต้องการระบบการตัดสินใจที่ตั้งบนเสียงข้างมากและคุ้มครองสิทธิของคนข้างน้อย มีการค้ำประกันที่มีประสิทธิภาพทางการพูด พิมพ์ ศาสนา การรวมตัวกัน การร้องทุกข์และความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย เป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีการเมือง พรรค และนักการเมืองเป็นตัวกระตุ้นให้ระบบประชาธิปไตยทำงานได้ผล

     
  14. ทรายแก้ว เจริญธัญญา

    มิถุนายน 2, 2011 at 11:11 PM

    ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (2552:9) กล่าวถึง
    วิธีคิดของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แปลกสำหรับคนในยุคพวกเรา เพราะพระองค์ท่านทรงคิดว่าประชาธิปไตยต้องเริ่มต้นที่ท้องถิ่น แล้วจึงกลายเป็นประชาธิปไตยระดับชาติ ผมคิดว่าพระองค์ท่านค่อนข้างจะแยกแยะได้พอสมควร ว่าประชาธิปไตยที่ระดับชาติกับที่ระดับท้องถิ่นไม่เหมือนกัน ฉะนั้น ท้องถิ่นของพระองค์ท่านมีนัยว่าเป็นโรงเรียนฝึกประชาชน ให้รู้จักบ้านเมือง ให้รู้จักปัญหาของบ้านเมือง ให้รู้จักการมีส่วนร่วม ให้รู้จักกล้าที่จะร่วม ให้รู้จักเลือกผู้แทน ให้รู้จักที่จะเลือกว่าโครงการหรือนโยบายอะไรที่ดี

    ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (2552:17-18) กล่าวถึง
    รุสโซ (Rousseau) เป็นคนยุคก่อนปฎิวัติฝรั่งเศสเล็กน้อย เขาให้คำจำกัดความ ประชาธิปไตยว่า ต้องปกครองตนเอง ถ้าเอาคนอื่น มาปกครองแทนเรา ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตยมันผิดโดยคำนิยาม ผู้นำของเรา ผู้แทนของเรา ทำหน้าที่อย่างมากเป็นเพียงผู้ช่วยเราเท่านั้น แต่ถ้าเราไม่ได้เข้าประชุมผ่านกฎหมายด้วยตนเอง ไม่ได้เข้าไปถกเถียงด้วยตนเอง จะบอกว่าเราเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ เพราะเราไม่ได้ปกครองตนเอง จะเปลี่ยนประชาธิปไตยแบบปกครองตนเองไปเป็นการเลือกผู้แทน และมาทำอะไรแทนเรา ไม่ได้

    มอง เตสกิเออ (Montesquieu) เชื่อเหมือนรสุโซว่า ประชาธิปไตย คือ การปกครองเมืองขนาดเล็ก เอาใจใส่ ช่วยเหลือ สนับสนุนการทำงานในชุมชนนั้น ๆ ฉะนั้นถ้าต้องการจะเป็นรัฐขนาดใหญ่ให้ทำเป็นสมาพันธรัฐ หรือสหพันธรัฐ อย่าทำเป็นรัฐเดี่ยว ทำอย่างไรก็ตาม ที่จะต้องให้บทบาทของบ้านเมืองอยู่ที่ท้องถิ่นอยู่ที่พื้นฐาน

    บรรณานุกรม
    เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2552). อภิวัฒน์ท้องถิ่น : สำรวจทฤษฎีการเมืองเพื่อสร้างท้องถิ่นให้เป็นฐานใหม่ของประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ.ที คิว พี.

    ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (2553:1-2) กล่าวถึง
    ก้าวแรกของการปกครองท้องถิ่นไทย เป็นย่างก้าวไปพร้อม ๆ กับการเริ่มก้าวย่างของระบอบประชาธิปไตยระดับชาติ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในก้าวแรกนี้ มีความพยายามใช้การปกครองท้องถิ่นเป็นเครื่องปลูกฝังและทดลองประชาธิปไตย เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงให้ การปกครองระบอบประชาธิปไตยระดับชาติ ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ เรื่องประชาธิปไตยในสยาม (Democracy in Siam) ซึ่งขออันเชิญส่วนหนึ่งมา ณ ที่นี้ ความว่า
    “ข้าพเจ้าเห็นว่าสิทธิเลือกตั้งของประชาชน ควรจะเริ่มต้นที่การปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล ข้าพเจ้าเชื่อว่าประชาชนควรจะมีสิทธิมีเสียงในกิจการของท้องถิ่น เรากาลังพยายามให้การศึกษาเรื่องนี้แก่เขา ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการผิดพลาด ถ้าเราจะมีการปกครองระบบรัฐสภาก่อนที่ประชาชนจะมีโอกาสเรียนรู้และมีประสบการณ์อย่างดีเกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งในกิจการปกครองท้องถิ่น”
    ช่วงนี้ซึ่งมีระยะเวลายาวนานพอสมควรตั้งแต่ พ.ศ.2475 ถึง พ.ศ.2500 นั้น เมื่อต้องการใช้การปกครองท้องถิ่นเป็นการให้การศึกษาประชาธิปไตยแก่ประชาชน ซึ่งรัฐมองว่ายังไม่มีความเข้าใจประชาธิปไตยที่แท้จริง ก็จาเป็นที่ต้องให้ประชาชนมี “พี่เลี้ยง” ดังนั้น จึงมีการให้ข้าราชการซึ่งรัฐเห็นว่าน่าจะมีความรู้ความเข้าใจในการปกครองดีกว่าเข้ามาช่วยเป็นพี่เลี้ยง ในการบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การให้นายอำเภอและปลัดอำเภอเข้ามาเป็นประธานกรรมการและกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

    บรรณานุกรม

    บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (ผู้ปาฐกถา). (9 กันยายน 2553). ก้าวต่อไปของการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา.

     
  15. นาย พงศ์เทพ งามสลัก

    มิถุนายน 3, 2011 at 10:18 AM

    นาย พงศ์เทพ งามสลัก
    พัฒนาชุมชน 35 เลขที่ 10

    เอ ดี ลินด์เซ่ (R.M.Maciver) ให้ความหมายว่า ประชาธิปไตยเป็นทั้งรูปการปกครอง และวิถีชีวิตที่ถือเอาเสรีภาพเป็นหลักสำคัญ
    บรรณานุกรม
    เอ ดี ลินด์เซ่ (R.M.Maciver). (2520). ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ.
    บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิ
    อเนก เหล่าธรรมทัศน์ (2545:46-48) การปกครองท้องถิ่น คือ ประชาธิปไตยท้องถิ่น ด้านประชาธิปไตยนี่สำคัญที่สุด การคิดว่าท้องถิ่นเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น ไม่ใช่เป็นองค์ประกอบท้องถิ่น นี่ก็คือ ธรรมเนียม จารีตเดิม หรือวิธีคิดเดิมของบรรดาคนที่มีความรู้ คนที่มีการศึกษา ในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475นั่นเอง
    บรรณานุกรม
    อเนก เหล่าธรรมทัศน์ . (2545).วิสัยทัศน์ การปกครองท้องถิ่น และแผนกระจายอำนาจ .พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ.ไททรรศน์

     
  16. นางประภารัตน์ กฤตยาธร

    มิถุนายน 3, 2011 at 3:02 PM

    โจน เจ คลาร์ก (John L . Clarke) (1957:87 – 89) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง หน่วยการปกครองที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกียวข้องกับการให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่ใดโดยเฉพาะ และหน่วยการปกครอง ดังกล่าวนี้จัดตั้งขึ้นและอยู่ในความดูและของรัฐบาลกลาง

    อีไมล เจ . ชัดดี้ (Emile J . Sady) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง หน่วยการปกครองทางการเมืองที่อยู่ไนระดับต่ำจากรัฐ ซึ่งก่อตั้งโดยกฎหมาย และมีอำนาจเพียงพอที่จะทำกิจกรรมในท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง รวมทั้งอำนาจจัดเก็บภาษีเจ้าหน้าที่ของ หน่วยการปกครองท้องถิ่นดั่งกล่าวได้รับการเลือกตั้งหรือจัดตั้งโดยท้องถิ่นก็ได้(อุทัย หิรัญโต, ๒๕๒๓:๔)

    ประทาน คงฤทธิศึกษากร นิยามว่าการปกครองท้องถิ่น เป็นระบบการปกครองที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระจายอำนาจการปกครองของรัฐ และโดยนัยนี้จะเกิดองค์การทำหน้าที่ปกครองท้องถิ่นโดยคนในท้องถิ่นนั้นๆองค์การนี้จัดตั้งและควบคุมโดยรัฐบาล และมีอำนาจในการกำหนดนโยบายและควบคุมให้มีการปฏิบัติไห้เป็นไปตามนโยบายของตนเอง

     
  17. นาย ชวลิต ศรีสวัสดิ์ พช 34 เลขที่ 007

    มิถุนายน 3, 2011 at 4:43 PM

    กิจกรรมที่ 3 การปกครองท้องถิ่นไทย
    การปกครองท้องถิ่นคือรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย (Basic Democracy) เพราะการปกครองท้องถิ่นจะเป็นสถาบันฝึกสอนการเมืองการปกครองให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนรู้สึกว่าตนมีความเกี่ยวพันกับส่วนได้ส่วนเสียในการปกครอง การบริหารท้องถิ่น เกิดความรับผิดชอบ และหวงแหนต่อประโยชน์อันพึงมีต่อท้องถิ่นที่ตนอยู่อาศัย อันจะนำมา ซึ่งความศรัทธาเลื่อมใสในระบอบการปกครองประชาธิปไตยในที่สุด (ชูศักดิ์ เที่ยงตรง, 2518 : 6-7) โดยประชาชนจะมีโอกาสเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร การเลือกตั้งจะเป็นการฝึกฝน ให้ประชาชนใช้ดุลพินิจเลือกผู้แทนที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไปบริหารกิจการ ของท้องถิ่น นับได้ว่าเป็นผู้นำในท้องถิ่นจะได้ใช้ความรู้ความสามารถบริหารงานท้องถิ่น เกิดความคุ้นเคยมีความชำนิชำนาญในการใช้สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง ซึ่งจะนำไปสู่การมี ส่วนร่วมทางการเมืองในระดับชาติต่อไป

    บรรณานุกรม

    ชูศักดิ์ เที่ยงตรง, (2518) .การบริหารการปกครองท้องถิ่นของไทย. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

    (อนันต์ อนันตกูล, 2521 : 6-7) การปกครองท้องถิ่นทำให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักการปกครองตนเอง (Self Government) หัวใจของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประการหนึ่งก็คือ การปกครองตนเองมิใช่เป็น การปกครองอันเกิดจากคำสั่งเบื้องบน การปกครองตนเองคือ การที่ประชาชนมีส่วนร่วม ในการปกครอง ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นนอกจากจะได้รับเลือกตั้งมาเพื่อรับผิดชอบบริหารท้องถิ่น โดยอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจจากประชาชนแล้ว ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องฟังเสียง ประชาชนด้วยวิถีทางประชาธิปไตยต่าง ๆ เช่น เปิดโอกาสให้ประชาชนออกเสียงประชามติ (Referendum) ให้ประชาชนมีอำนาจถอดถอน (Recall) ซึ่งจะทำให้ประชาชนเกิดความสำนึก ในความสำคัญของตนต่อท้องถิ่น ประชาชนจะมีส่วนรับรู้ถึงอุปสรรคปัญหาและช่วยกันแก้ไข ปัญหาของท้องถิ่นของตน

    บรรณานุกรม

    อนันต์ อนันตกูล, (2521). การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.

    การปกครองท้องถิ่นสอดคล้องกับแนวความคิดในการพัฒนาชนบท แบบพึ่งตนเอง การปกครองท้องถิ่นโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ ทำให้เกิดการพัฒนาชนบท แบบพึ่งตนเองทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การดำเนินงานพัฒนาชนบท ที่ผ่านมายังมีอุปสรรคสำคัญประการหนึ่ง คือ การมีส่วนร่วมจากประชาชน ในท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ซึ่งการพัฒนาชนบทที่สัมฤทธิ์ผลนั้น จะต้องมาจากการริเริ่มช่วยตนเอง ของท้องถิ่น ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมแรงกัน โดยอาศัยโครงสร้างความเป็นอิสระ ในการปกครองตนเอง ซึ่งต้องมาจากการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง มิเช่นนั้นแล้ว การพัฒนาชนบทจะเป็นลักษณะ “หยิบยื่นยัดใส่ หรือกึ่งหยิบยื่นยัดใส่” เกิดความคาดหวัง ทุกปีจะมี “ลาภลอย” แทนที่จะเป็นผลดีต่อท้องถิ่นกลับสร้างลักษณะการพัฒนาแบบพึ่งพา ไม่ยอมช่วยตนเอง อันเป็นผลทางลบต่อการพัฒนาพื้นฐานระบอบประชาธิปไตย (ลิขิต ธีรเวคิน, 2528 : 3-4) ดังนั้นการกระจายอำนาจจึงจะทำให้เกิดลักษณะการพึ่งตนเอง ซึ่งเป็นหลักสำคัญ ของการพัฒนาชนบทอย่างยิ่ง

    บรรณานุกรม

    ลิขิต ธีรเวคิน, (2528) .การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น : อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก.

    กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

     
  18. นายกานต์พงศ์ เลิศรัตนาวรชัย

    มิถุนายน 3, 2011 at 4:46 PM

    กิจกรรมที่ 3 วิชา การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
    ชื่อ-สกุล นายกานต์พงศ์ เลิศรัตนาวรชัย สาขาวิชา พัฒนาชุมชน เลขที่ 1 รหัสนักศึกษา 5027024001

    1. เพลโต กล่าวว่า ระบอบการปกครองที่ดีนั้นจะต้องมาจากคนที่มีความสามารถ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่สมควรจะมีสิทธิในการดำเนินการปกครองเท่านั้น แต่ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ไม่สามารถหาคนที่มีความรู้ความสามารถมาดำเนินการปกครองได้อย่างแท้จริง ดังนั้นในความคิดของพวกอภิสิทธิ์ชนนี้จึงต้องการให้คนกลุ่มน้อยที่มีความสามารถเข้ามาปกครอง แต่แนวความคิดนี้ขัดกับหลักความเสมอภาคทางการเมือง เพราะเท่ากับการไม่ยอมรับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดต่อสภาพของมนุษย์ และในบางครั้งการปกครองแบบประชาธิปไตยอาจจะไม่สามารถคัดเลือกคนที่มีความสามารถเข้ามาปกครองได้ แต่การที่ให้บุคคลซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน นำความต้องการของประชาชนมาใช้ได้ ย่อมดีกว่าการที่ได้คนที่มีความสามารถแต่ใช้ความสามารถนั้นหาผลประโยชน์เข้าสู่ตัวเองโดยปราศจากการฟังเสียงของประชาชน
    บรรณานุกรม
    ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร. “ปัญหาของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย” ในรัฐศาสตร์.
    หน้า 118.รวิวรรณ จันทรแม้น,บรรณาธิการ.บริษัทธรรมดาเพรส จำกัด.

    2. โกวิทย์ พวงงาม และอลงกรณ์ อรรคแสง ( 2547 น.7 ) ให้ความหมายว่า องค์กรปกครองส่วน-ท้องถิ่น หมายถึงองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารงานในแต่ละท้องถิ่น มีผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน ในท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบต่อการบริหารอย่างอิสระในเขตพื้นที่ที่กำหนด มีอำนาจในการบริหารการเงินและการคลัง และกำหนดนโยบายของตนเอง รวมทั้งหน้าที่ดำเนินกิจกรรมภายในกรอบที่กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์ของรัฐ และของประชาชนในท้องถิ่นโดยองค์กรดังกล่าว ในกรณีประเทศไทยได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) , เทศบาล , องค์การบริหารส่วนตำบล , พัทยา และกรุงเทพมหานคร
    บรรณานุกรม
    โกวิทย์ พวงงาม การปกครองท้องถิ่นไทย.- -กรุงเทพฯ:เอ็กซเปอร์เน็ท , 2550

    3. วุฒิสาร ตันไชย ( 2547 , น.1 ) ให้ความหมายว่า การปกครองท้องถิ่นคือการปกครองที่รัฐกลาง หรือส่วนกลางได้กระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรที่มีสิทธิตามกฎหมาย มีพื้นที่ และประชากรเป็นของตนเอง ประการสำคัญองค์กรดังกล่าวจะต้องมีอำนาจอิสระในการปฏิบัติ อย่างเหมาะสม การมอบอำนาจจากส่วนกลางมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหา ตัดสินใจ การตรวจสอบการทำงาน และร่วมรับบริการสาธารณะต่างๆ อย่างไรก็ตามแม้ว่าการปกครองท้องถิ่นจะมีอิสระในการดำเนินงานแต่ยังคงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลกลาง
    บรรณานุกรม
    โกวิทย์ พวงงาม การปกครองท้องถิ่นไทย.- -กรุงเทพฯ:เอ็กซเปอร์เน็ท , 2550

     
  19. นายสุรศักดิ์ ดาษขุนทด พัฒนาชุมชนรุ่น34 เลขที่32

    มิถุนายน 3, 2011 at 4:58 PM

    กิจกรรมที่ 3 วิชาการปกครองท้องถิ่น
    ยอร์จ ออร์เวลล์ ได้เปรียบ “คนคือสัตว์การเมือง” การเมืองในที่นี้ ก็คือการปกครองนั่นเอง เขาได้สมมุติ โดยเปรียบคนเป็นสัตว์ชนิตต่างๆ ตัวละครมีหมูชื่อ Snowball, napoleon ที่สถาปนาตัวเองเป็นผู้ปกครอง สัตว์อื่นๆหลายชนิด สมมุติให้เป็นประชาชนทั่วไป ที่ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์และความสุขของตนเองกับพวก ของตนในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการทำตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย
    บรรณานุกรม Orwell,George.2544.Animal Farm : afairy story.พิมครั้งที่1.กรุงเทพ:มติชน.

    การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง จึงหมายถึงการปกครองตนเองของประชาชน ที่”อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน”อันหมายความว”ประชาชนเป็นเจ้าของระบอบประชาธิปไตย” และ ไม่ได้หมายความว่า”ประชาชนมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย”อีกด้วย แต่หมายถึง “การปกครองตนเองของประชาชน”นั่นเอง
    ในยุคก่อนการปฏิวัติเกษตรกรรม และการปฏิวัติอุตสาหกรรมไม่มีผู้นำในประเทศใดเชื่อว่าประชาชน คนธรรมดา ไร้การศึกษา ยากจน ไร้ระเบียบ อย่างประชาชนคนธรรมดาในหมู่บ้านนั้น จะสามารถปกครองตนเองได้ ผู้ปกครองในระบอบเผด็จการดั้งเดิม จะพยายามสร้างค่านิยม ล้างสมอง สร้างค่านิยมสร้างค่านิยมแบบเจ้าผู้ครองนคร ด้วยวิธีต่างๆนานา ให้ผู้ปกครองอยู่เหนือคน ให้เป็นเหมือนเทวดา มีสิทธิเสรีภาพทุกอย่าง เป็นยิ่งกว่าศาสดาของศาสนา ที่ไม่ใช่คนธรรมดา การตั้งชื่อก็ให้น่าเกรงขาม คนธรรมดาต้องกราบไหว้ และจะสร้างค่านิยมว่าคนธรรมดาไม่มีความสามารถ ไม่มีสิทธิปกครองตนเองได้ เป็นต้น
    ประมาณอีก 200 ปีต่อมา มีคำประกาศสะท้านโลกเกิดขึ้น เป็นคำประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ.1776 ในการประกาศอิสรภาพและจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติสหรัฐอเมริกา สรุปสำคัญว่า “คนทุกคนและกลุ่มชนทุกกลุ่มในโลก ย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะปกครองตัวเอง”
    We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their. Creator with certain unalienable. Rights, that among these are Life Liberty and the pursuit of Happiness. That to secure these rights,Government becomes destructive of these ends, it is the Right of the people to alter or to alolish it, and to institute new Government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to shall seem most likely to ellect their Safety and Happiness.
    เป็นคำกล่าวของ Thomas Jefferson ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเน้นไว้ว่า “คนทุกคนและกลุ่มชนทุกกลุ่มในโลก ย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะปกครองตัวเอง”
    บรรณานุกรม
    วิบูลย์ แช่มชื่น.2554.ทางออกประเทศไทย ต้องปฏิวัติประชาธิปไตย.ปิมครั้งที่1.กรุงเทพฯ.บริษัท ส.เอเชียเพรส.

    นายสุรศักดิ์ ดาษขุนทด รหัส 5027024032 สาขาพัฒนาชุมชน รุ่น 34

     
  20. นายนิวัฒน์ ลำพล พัฒนาชุมชน 34 เลขที่ 15

    มิถุนายน 3, 2011 at 7:51 PM

    ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น
    เดเนียล วิท ( Daniel Wit ) นิยามว่า การปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง การที่รัฐบาลกลางให้อำนาจ หรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีอำนาจในการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือเพียงเพียงแต่บางส่วนในการบริหารท้องถิ่น ตามหลักการที่ว่า ถ้าอำนาจการปกครองมาจากประชาชนในท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลของท้องถิ่นก็ย่อมเป็นรัฐบาลของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน ดังนั้น การบริหารการปกครองท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีองค์กรของตนเอง อันเกิดจากการกระจายอำนาจของรัฐบาลโดยให้องค์กรอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลกลาง มีอำนาจในการตัดสินใจและบริหารงานภายในท้องถิ่นในเขตอนาจของตน
    วิลเลี่ยม วี. ฮอลโลเวย์ ( William V. Holloway ) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง องค์การที่มีอาณาเขตแน่นอน มีประชากรตามหลักที่กำหนดไว้ มีอำนาจการปกครองตนเอง มีการบริหารการคลังของตนเอง และมีสภาท้องถิ่นที่สมาชิกได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน
    โจน เจ. คลาร์ก ( Jhon J. Clarke ) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง หน่วยการปกครองที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดโดยเฉพาะ และหน่วยการปกครองดังกล่าวนี่จัดตั้งและอยู่ในความดูแลของรัฐบาลกลาง
    แฮรีส จี. มอนตากู ( Haris G. Montagu ) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองซึงหน่วยการปกครองท้องถิ่นได้มีการเลือกตั้งโดยอิสระเพื่อเลือกผู้มีหน้าที่บริหารการปกครองท้องถิ่น มีอำนาจอิสระพร้อมความรับผิดชอบซึ่งตนสามารถที่จะใช้ได้โดยปลอดจากการควบคุมของหน่วยการบริหารราชการส่วนกลางหรือภูมิภาค แต่ทั้งนี้หน่วยการปกครองท้องถิ่นยังต้องอยู่ภายใต้บทบังคับว่าด้วยอำนาจสูงสุดของประเทศ ไม่ได้กลายเป็นรัฐอิสระใหม่แต่อย่างใด

    อีไมล์ เจ. ซัดดี้ ( Emile J. Sady ) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง หน่วยการปกครองทางการเมืองที่อยู่ในระดับต่ำจากรัฐ ซึ่งก่อตั้งโดยกฎหมาย และมีอำนาจอย่างเพียงพอที่จะทำกิจการในท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง รวมทั้งอำนาจจัดเก็บภาษีเจ้าหน้าที่ของหน่วยการปกครองท้องถิ่นดังกล่าวอาจได้รับการเลือกตั้งโดยท้องถิ่นก็ได้
    ประทาน คงฤทธิศึกษากร นิยามว่า การปกครองท้องถิ่นเป็นระบบการปกครองที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระจายอำนาจทางการปกครองของรัฐ และโดยนัยนี้จะเกิดองค์การทำหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่นโดยคนในท้องถิ่นนั้น ๆ องค์การนี้จัดตั้งและถูกควบคุมโดยรัฐบาล แต่ก็มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและควบคุมให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายของตนเอง
    อุทัย หิรัญโต นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น คือ การปกครองที่รัฐมอบอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งจัดการปกครองและดำเนินกิจกรรมบางอย่าง โดยดำเนินการกันเองเพื่อบำบัดความต้องการของตน การบริหารงานของท้องถิ่นมีการจัดเป็นองค์การมีเจ้าหน้าที่ซึ่งประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาทั้งหมด หรือบางส่วน ทั้งนี้มีความเป็นอิสระในการบริหารงาน แต่รัฐบาลต้องควบคุมด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จะปราศจากการควบคุมของรัฐหาได้ไม่เพราะการปกครองท้องถิ่นเป็นสิ่งที่รัฐทำให้เกิดขึ้น
    วิลเลี่ยม เอ. ร๊อบสัน ( William A. Robson ) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง หน่วยการปกครองซึ่งรัฐได้จัดตั้งขึ้นและให้มีอำนาจปกครองตนเอง มีสิทธิตามกฎหมาย และต้องมีองค์กรที่จำเป็นในการปกครอง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้สมความมุ่งหมายของการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ

    บรรณานุกรม
    ชูวงศ์ ฉายะบุตร.(2539).การปกครองท้องถิ่นไทย.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

     
  21. น.ส.น้ำผึ้ง เลียมเพชร 5027024013 เอกพัฒนาชุมชน

    มิถุนายน 3, 2011 at 8:00 PM

    บรูตัส ( 1986 : 270 ) ในชุมชนขนาดใหญ่ไม่อาจมีตัวแทนของทุกกลุ่มผลประโยชน์ได้อย่างครบถ้วน จึงมีกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นข้างน้อยซึ่งเป็นฝ่ายที่สูญเสียตลอดเวลา จึงควรมีชุมชนขนาดเล็กที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งสมาชิกแต่ละคนรู้จักกันและสามารถบังคับกันเองให้เคารพประโยชน์ส่วนรวมเพื่อแบ่งปันความร่ำรวยและอำนาจกันได้อย่างเท่าเทียมกัน สนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยที่มาจากประชาชนของรัฐนั้นๆ
    บรรณานุกรม
    Brutus Essay. ( 1986 ). in the Anti-Federalist Papers and the Constitutional Debates . New York .

    วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ( 2537 : 42-54 ) เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของราษฎรหรือของพลเมืองจากการใช้อำนาจตามอำเภอใจของผู้ปกครอง รัฐธรรมนูญของรัฐเสรีประชาธิปไตยจึงได้บัญญัติจัดระเบียบการใช้อำนาจและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในปัจจุบันว่า “สังคมใดไม่มีการประกันเสรีภาพปัจเจกชน อีกทั้งไม่มีการแบ่งแยกอำนาจ ในสังคมนั้นไม่มีรัฐธรรมนูญ คำว่ารัฐธรรมนูญในที่นี้หมายความถึงรัฐธรรมนูญเสรีประชาธิปไตย คือ ไม่ให้การใช้อำนาจไปรวมศูนย์อยู่ที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง
    บรรณานุกรม
    วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ . ( 2537 ). ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง 1789 มาตรา 16 . วารสารกฎหมายปกครอง เล่ม 3 ตอน 2.

     
  22. นายเชี่ยวชาญ ถนอมขวัญ พัฒนาชุมชน 34 เลขที่ 08

    มิถุนายน 3, 2011 at 8:01 PM

    กิจกรรมที่ 4 วิชาการปกครองท้องถิ่นไทย

    ศุภกฤษ ฐานเจริญ (2550;69) ได้กล่าวและได้มีแนวคิดในการทำงานและบริหารงานของ
    องค์การบริหารส่วนตำบลไว้ว่า การทำให้ชุมชนที่มีความรู้สึกรัก และหวงแหนท้องถิ่น รู้สิทธิและหน้าที่ของตัวเองให้มีสำนึกรักประชาธิปไตย เสียสละให้กับงานส่วนรวม มีการจัดระบบของงานทุก ๆ ส่วนยังที่เป็นปัญหาอยู่ เพราะว่าระเบียบ กฎหมาย การดำเนินการ ในเรื่องงบประมาณ ความต้องการของชุมชน เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะว่ามีความหลากหลายและเป็นปัญหาของชาวบ้าน ที่พบส่วนใหญ่ จะเป็นในเรื่องของแหล่งน้ำเป็นหลัก และอยากจะสร้างความรู้ที่ตอบสนอง ต่อแนวทางการ การกระจายอำนาจให้ชุมชน ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรม องค์ความรู้ตรงนี้ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิด ความรู้สึกในเรื่องกระจายอำนาจอย่างพอเพียง และแท้จริง ซึ่งเรียกว่าอิทธิพลทางการเมืองในระบบประชาธิปไตยของประชาชนยังไม่เพียงพอเทียบเท่ากับประเทศอื่น ๆ ที่พัฒนาแล้วและประชาชนยังขาดจิตสำนึกทางการเมืองในระดับท้องถิ่นซึ่งเป็นเนื้อหาของประชาธิปไตยมายาภาพ ผมอยากที่จะให้หน่วยงานที่ดูแลแนวทางนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้พิจารณาถึงความจำเป็นในการพัฒนาท้องถิ่นทุก ๆ รูปแบบไม่อยากให้ยึดการเมืองท้องถิ่นไปเชื่อมโยงกับการเมืองระดับโครงสร้าง ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพราะประชาชนในระดับท้องถิ่นคือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
    บรรณานุกรม
    ศุภกฤษ ฐานเจริญ. (2550).ประชาคมท้องถิ่น. ปีที่6 ฉบับที่72 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2550 (วารสารรายเดือน)

    วัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์ (2554:36-37) กล่าวว่า แนวคิดใน การถ่วงดุล ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนเพื่อให้การกระจายไปถึงมือของประชาชนอย่างแท้จริง การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจจึงจำเป็นต้องมีการประชาธิปไตยทางตรงควบคู่ไปกับประชาธิปไตยแบบตัวแทน โดยผู้บริหารและสภาท้องถิ่นจะมาจาการเลือกตั้งโดยตรง โดยเฉพาะในการตัดสินในความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตและทิศทางการพัฒนาของท้องถิ่น ด้วนเหตุดังนี้ในแต่ละท้องถิ่นจะต้องมีการตั้ง “คณะกรรมการประชาสังคม”เข้ามาเป็นกลไกเชื่อมโยงสำหรับประชาชนและชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการบริหารจัดการท้องถิ่น โดยคณะกรรมการประชาสังคมจะมีหน้าที่ในการถ่วงดุลการตัดสินใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในระดับจังหวัดและต่ำกว่าจังหวัดโดยมีอำนาจในการแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็นและแนวทางเลือกต่าง ๆ ในการตัดสินใจจากชุมชน จากประชาชน และจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    บรรณานุกรม
    วัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ. พิมพ์ครั้งแรก จังหวัดนนทบุรี .
    จัดพิมพ์โดย บริษัท ทีคิวพี จำกัด. สำนักงานปฏิรูป(สปร.)

     
  23. น.ส.เบญจารัตน์ สุขจิต พัฒนาชุมชน 34 เลขที่ 17

    มิถุนายน 3, 2011 at 8:25 PM

    แนวคิดทฤษฎีว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น
    เดเนียล วิท ( Daniel Wit ) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองที่รัฐบาลกลาง ให้อำนาจหรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีอำนาจในการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือเป็นบางส่วนในการบริหารท้องถิ่น ตามหลักการที่ว่า ถ้าอำนาจการปกครองมาจากประชาชนในท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลของท้องถิ่นก็ย่อมเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
    วิลเลี่ยม เอ. ร็อบสัน ( William A. Robson ) ให้ความหมายว่า การปกครองท้องถิ่นคือ การปกครองส่วนหนึ่งของประเทศซึ่งมีอำนาจอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ตามสมควร อำนาจอิสระในการปฏิบัติหน้าที่จะต้องไม่มากจนมีผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยของรัฐ เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมิใช่ชุมชนที่มีอำนาจอธิปไตย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิตามกฎหมายและมีองค์การที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเอง
    วิลเลี่ยม วี. โฮลโลเวย์ ( William V. Hklloway ) อธิบายว่า การปกครองท้องถิ่นคือ การปกครองตนเองของชุมชนแห่งหนึ่งแห่งใดที่มีองค์การเกิดขึ้น ทำหน้าที่ในเขตพื้นที่ที่กำหนด มีอำนาจในการบริหารการคลัง มีอำนาจในการวินิจฉัยตัดสินใจ และมีสภาของท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับมิติต่าง ๆ หลายมิติ ดังนี้
    1. มิติทางสังคม
    คือ การปกครองท้องถิ่นเป็นการรวมกลุ่มของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้สภาพสังคมและเศรษฐกิจเฉพาะที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ
    2. มิติทางเศรษฐกิจ
    คือ การปกครองท้องถิ่นจะช่วยนำไปสู่การกระจายอำนาจในทางเศรษฐกิจ ลดการแทรกแซงของส่วนกลางในการวางแผนและพัฒนา แต่ในขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจของแต่ละท้องถิ่นย่อมนำมาสู่ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชาติโดยปริยาย

    3. มิติทางภูมิศาสตร์
    คือ การปกครองท้องถิ่นมาจากแนวคิดที่ว่า ประชาชนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งย่อมมีจิตสำนึก มีความคิด ความรู้สึกที่ต่างจากประชาชนในพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศเดียวกัน และย่อมมองเห็นถึงประโยชน์ที่ตนจะได้รับแตกต่างจากชุมชนหรือสังคมที่อยู่ติดกับตนและพื้นที่อื่น ๆ ด้วยประโยชน์ที่แตกต่างในแต่ละพื้นที่ย่อมทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้น ปัญหาที่แตกต่างกันย่อมต้องแก้ไขแตกต่างกันทั้งในด้านวิธีการ แนวการเมือง การบริหารงานและกฎหมาย ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปกครองท้องถิ่นเกิดขึ้น
    4. มิติทางกฎหมาย
    คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์สาธาณชนในพื้นที่ ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในด้านอำนาจอธิปไตยของรัฐ มีอิสระในการดำเนินงานในระดับหนึ่ง
    5. มิติทางการเมือง
    มิตินี้นับว่ามีความสำคัญที่สุดสำหรับแนวคิดของการปกครองท้องถิ่น เพราะการปกครองท้องถิ่นมีหน่วยงานต่าง ๆ ทำหน้าทีแบ่งเบาภาระของภาครัฐในส่วนกลาง จากการส่งมอบอำนาจ หรือกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ และยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะถือว่า สังคมใดก็ตามไม่ถือว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหากปราศจากการปกครองท้องถิ่น
    6. มิติทางการบริหาร
    การปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การบริหารองค์กรที่มีส่วนผสมร่วมกันของการเมืองการบริหารและเทคโนโลยี
    บรรณานุกรม
    บูฆอรี ยีหมะ.(2550).การปกครองท้องถิ่นไทย.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

     
    • อมรกิตต์ กิจมงคล

      มิถุนายน 3, 2011 at 9:23 PM

      กิจกรรมที่ 3 วิชาการปกครองท้องถิ่นไทย
      (1.) อาจารย์นุชา มุกดาลอย มีแนวคิดและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองดังนี้
      ประชาธิปไตย คือระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่มติปวงชน หรือเสียงข้างมาก เกิดจากการแสดงออกของผู้แทนปวงชน ผู้แทนปวงชน หรือผู้แทนราษฎร

      ระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่หมายถึงแค่ประชาธิปไตยทางการเมือง (ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ เลือกตั้ง คัดค้าน ถอดถอน ผู้แทนได้) เท่านั้น หากต้องเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ (มีการกระจายทรัพย์สิน รายได้และงานที่เหมาะสม อย่างเป็นธรรม มีการแข่งขันด้านการผลิตและการค้าที่เป็นธรรม) และประชาธิปไตยทางสังคม (ประชาชนมีการศึกษา รับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีสิทธิเสรีภาพ และโอกาสการเข้าถึง ศาสนา ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม อย่างเสมอภาคกัน) ด้วย ประชาธิปไตย 2 อย่างหลังนี้ ประเทศไทยยังมีน้อย รวมทั้ง ไม่มีการให้การศึกษาให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารประชาชนในเรื่องประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคมมากพอ เป็นเหตุให้ประชาธิปไตยทางการเมืองของไทยยังพัฒนาไปได้ช้ามาก
      จะตรวจสอบประชาธิปไตยของแท้ได้อย่างไร
      ระบบการเลือกตั้งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย หากประชาชนต้องการจะตรวจสอบว่าสภาพการเมืองในตอนไหน เป็นประชาธิปไตยที่แท้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าสภาพการเมืองในขณะนั้น ประกอบไปด้วยสภาวะความเป็นประชาธิปไตย อย่างน้อย 6 ข้อ ดังต่อไปนี้หรือไม่ มากน้อยเพียงไร
      1. การเลือกตั้งผู้แทนจะต้องเป็นอิสระและยุติธรรม ไม่มีการใช้อำนาจหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อโกงการเลือกตั้ง ไม่มีการซื้อเสียงขายเสียง และการที่กลุ่มอภิสิทธิชนใช้อำนาจอิทธิพลระบอบอุปถัมภ์ ให้คนต้องเลือกเฉพาะพวกเขาบางคน
      2. จะต้องมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่ดี เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ องค์กรประชาชนสามารถตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้ และต่างฝ่ายต่างตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน รวมทั้งภาคประชาชนสามารถถอดถอนผู้แทนที่มีพฤติกรรมไม่ชอบธรรมได้
      3. การบริหารบ้านเมืองจะต้องโปร่งใส มีเหตุผลอธิบายได้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่มีการคอรัปชั่น การหาผลประโยชน์ทับซ้อน การเล่นพรรคพวก หาประโยชน์ส่วนตัว
      4. มีรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ขนบธรรมเนียม ที่มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่ อย่างมี เหตุผล มีความคงเส้นคงวา คนส่วนใหญ่ยอมรับ และรัฐธรรมนูญ กฎหมาย เหล่านั้นมีผลบังคับใช้ด้วย
      5. สื่อมวลชนและองค์กรประชาชนมิสิทธิเสรีภาพ, เป็นอิสระ, มีศักดิ์ศรี และเข้มแข็ง
      ประชาชนมีจิตสำนึกความเป็นพลเมือง และมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การแสดงความคิดเห็น การสมาคม การชุมนุม การทำประชาพิจารณ์ (เปิดอภิปรายความคิดเห็นประชาชนเรื่องกฎหมายและโครงการต่างๆ) และการลงประชามติว่า ประชาชนจะรับหรือไม่ในเรื่องสำคัญๆ
      6. มีการกระจายการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สู่ประชาชน ทำให้เกิดประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่มั่นคง สม่ำเสมอ
      ดังนั้นถ้าเรานำหลักการตรวจสอบประชาธิปไตย 6 ข้อนี้มาตรวจสอบสภาพการเมืองในช่วงปี 2544 – 2549 ซึ่งมีการเลือกตั้งและผู้สมัคร สส. จากพรรคไทยรักไทย ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาด้วยเสียงข้างมาก เราจะพบว่าพวกเขาเป็นรัฐบาลที่ใช้อำนาจผูกขาด แทรกแซงองค์กรอิสระ ปิดปากสื่อมวลชนและประชาชน คอรัปชั่น หาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องฯลฯ ทำให้ ระบอบการปกครองแบบทักษิณเป็นระบอบประชาธิปไตยเพียงเปลือกนอก ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

      ประชาธิปไตยของแท้จะต้องมีสภาวะทั้ง 6 ข้อ อยู่พร้อมหน้ากัน ถ้ามีเพียงบางส่วนก็อาจจะเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยบางส่วน ซึ่งอย่างน้อยถ้าเรารู้จักปัญหา เราก็จะเห็นหนทางที่จะช่วยกัน พัฒนาการเมืองและสังคมของเราให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นต่อไปได้
      บรรณานุกรม
      อาจารย์นุชา มุกดาลอย (โรงรียนเฉลิมขวัญสตรี) อาจารย์วิชาสังคมศึกษา อำเภอเมือง ฯ จังหวัดพิษณุโลก
      (2.) แนวคิดของนักการเมืองที่เกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตย
      เราอาจแยกความแตกต่างในรูปแบบต่างๆของอำนาจทางการเมืองร่วมกันในประวัติความเป็นมาซึ่งโดยมีลักษณะเป็นแผน แต่อาจจะจัดว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเกี่ยวกับผู้มีอำนาจ ในอดีต, อำนาจทางการเมืองสาธารณะอย่างเท่าเทียมกันในบรรดาผู้ที่มีสิทธิพลเมืองเต็ม (ตัวอย่างทั่วไป ecclesia ชาวเอเธนส์) ในขณะที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองหลังมีความเข้มข้นในระดับต่างๆที่มือของชนชั้นสูงอื่น ๆ
      ในขอบเขตทางการเมืองมีเพียงสามารถเป็นหนึ่งในรูปแบบของประชาธิปไตยในสิ่งที่เราอาจจะเรียกหรือโดยตรงการเมืองประชาธิปไตยที่อำนาจทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกันในหมู่สาธารณะประชาชนทุกคน ดังนั้นการเมืองประชาธิปไตยที่มีการก่อตั้งขึ้นในการแบ่งปันความเท่าเทียมกันของอำนาจทางการเมืองในหมู่ประชาชนทุกคน, ตัวเอง instituting ของสังคม ซึ่งหมายความว่าเงื่อนไขต่อไปนี้ต้องพอใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยสังคมให้มีลักษณะทางการเมืองเป็น
      • John Clark เช่น”นิเวศวิทยาการเมืองของสังคมเกินกว่าขอบเขตของเมือง”และคำตอบของผมในระบอบประชาธิปไตยและธรรมชาติ, ปีที่ 5, ฉบับที่ 3 (พ.ย. 1999), หน้า 523-576 และ Suzan Brown, การเมืองของการแสวงหาผลประโยชน์

       
  24. นายจักรพล จิตจักร์

    มิถุนายน 3, 2011 at 9:50 PM

    ธเนศวร์ เจริญเมือง (2535 : 60-61) ได้เขียนไว้ในบทความเรื่องกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
    โดยมีแนวความคิดหรือทัศนะต่อการกระจายอำนาจไว้อย่างน่าสนใจ
    ดังนี้การกระจายอำนาจ (Decentralization) หมายถึงระบบการบริหารประเทศที่เปิดโอกาศให้
    ท้องถิ่นต่าง ๆ มีอำนาจในการดูแลกิจการหลาย ๆ ด้านของตนเอง ไม่ใช่ปล่อยให้รัฐบาลกลางรวมศูนย์อำนาจในการจัดการกิจการแทบทุกอย่างของท้องถิ่น กิจการที่ท้องถิ่นมีสิทธิจัดการดูแลมักได้แก่ ระบบสาธารณูปโภค การศึกษาและศิลปวัฒนธรรม การดูแลชีวิตทรัพย์สิน และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
    ส่วนกิจการใหญ่ ๆ 2 อย่างที่รัฐบาลกลางควบคุมไว้เด็ดขาดก็คือการทหาร และการต่างประเทศ
    ขอบเขตของการดูแลกิจการในท้องถิ่นแต่ละประเทศต่างกันไปในรายละเอียดตามลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศ แต่ส่วนที่เหมือนกันและมีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ รัฐบาลกลางมิได้รวมศูนย์อำนาจการดูแล
    จัดการแทบทุกอย่างไว้ที่ตัวเอง แต่ปล่อยให้ท้องถิ่นมีบทบาทและอำนาจในการกำหนดลักษณะต่าง ๆ ในท้องถิ่นของตนในแง่นี้การจัดการบริหารประเทศดังกล่าวก็นับว่าเป็นสิ่งที่มีเหตุผลทั้งนี้เพราะประเทศหนึ่ง ๆ มีชุมชนมากมายรวมกัน มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ มีประชากรจำนวนมาก และแต่ละชุมชนก็มีปัญหาต่าง ๆ มากมายแตกต่างกัน ยากนักที่คนในท้องถิ่นอื่นจะเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และสามารถจัดเวลาไปดูแลและแก้ไขกิจการทุกอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    การเปิดโอกาศให้แต่ละท้องถิ่นดูแลจัดการปัญหาระดับท้องถิ่นจึงมีคุณประโยชน์สำคัญอย่างน้อย 5 ด้าน คือ
    1. แบ่งเบาภาระของรัฐบาลกลาง
    2. ทำให้ปัญหาในแต่ละท้องถิ่นได้รับการแก้ไขปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามความต้องการของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ
    3. ส่งเสริมให้คนแต่ละท้องถิ่นได้แสดงความสามารถพัฒนาบทบาทตนเองในการดูแลรับผิดชอบท้องถิ่นของตน
    4. เป็นพื้นฐานสำคัญของคนในท้องถิ่นในการก้าวขึ้นไปดูแลแก้ไขปัญหาระดับชาติ
    5. เสริมสร้างความมั่นคงและเข้มเข็งให้แก่ชุมชนและทั้งประเทศเนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไข สังคมมีความมั่นคงและเจริญก้าวหน้า ประชาชนมีคุณภาพและมีบทบาทในการจัดการดูแลสังคมของตัวเอง

    ลิขิต ธีรเวคิน (2535 : 9) ได้ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจ โดยกล่าวไว้ว่าการกระจายอำนาจการปกครองมีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม สรุปได้ 2 ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้
    1. การกระจายอำนาจเป็นรากแก้วของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เนื่องด้วยประชาธิปไตยต้องประกอบด้วยโครงสร้างส่วนบน คือ ระดับชาติ และโครงสร้างส่วนฐาน คือ ระดับท้องถิ่น การปกครองตนเองในรูปแบบการปกครองท้องถิ่นอย่างแท้จริงคือรากแก้วเป็นฐานเสริมสำคัญยิ่งของการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
    2. การกระจายอำนาจมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจและสังคม ในด้านการพัฒนาชนบท โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะมีลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นต้องอาศัยโครงสร้างการปกครองตนเองในลักษณะที่มีความเป็นอิสระพอสมควร ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง

    บรรณานุกรม
    ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2535) .การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก. กรุงเทพมหานคร.โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
    ลิขิต ธีรเวคิน. (2535).กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. บริษัทพิฆเณศ พริ้นติ้ง
    เซ็นเตอร์ จำกัด.

     
  25. น.ส.ธิดารัตน์ อ้นชัยยะ เลขที่11 เอกพัฒนาชุมชนรุ่น 34

    มิถุนายน 3, 2011 at 10:13 PM

    ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นของ
    เดเนียล วิท นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึงการปกครองที่รัฐบาลให้อำนาจ หรือการกระจายอำอาจไปให้หน่อยปกครองท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้มีอำนาจในการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือเป็นบางส่วนในการบริหารท้องถิ่น ตามหลักการที่ว่า ถ้าอำนาจมาจากการปกครองของประชาชนในท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลท้องถิ่นก็ย่อมเป็นรัฐบาลของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน ดังนั้นการบริหารการปกครองท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีองค์กรของตนเอง อันเกิดจากการกระจายอำอาจของรัฐบาล รัฐบาลกลางอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลกลาง มีอำนาจในการตัดสินใจและบริหารงาน ภายในท้องถิ่นในเขตอำนาจของตน (Deniel Wit, 1967 ; 14-21)
    หน่วยการปกครองท้องถิ่นจะต้องมีอำอาจอิสระ (Autonomy) ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสม กล่าวคืออำนาจหน่วยการปกครองท้องถิ่น จะต้องมีขอบเขตพอควร เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่อยการปกครองท้องถิ่นอย่างแท้จริง หากมีอำนาจมากเกินไปไม่มีขอบเขต หน่วยการปกครองท้องถิ่นนั้นก็จะกายสภาพเป็นรัฐอธิปไตยเอง เป็นผลเสียต่อความมั่นคงต่อรัฐบาล อำนาจของท้องถิ่นมีขอบเขตที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะความเจริญตามความสามารถ ของประชาชนในท้องถิ่นนั้นเป็นสำคัญ รวมทั้งนะโยบาลของรัฐบาลในการพิจารณา การกระจายอำนาจให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นระดับใดจึงจะเหมาะสม
    บรรณานุกรม
    กิตติ ประทุมแก้ว การปกครองท้องถิ่น. พระนคร : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, 2512

    อุทัย หิรัญโต นิยามว่าการปกครองท้องถิ่น คือการปกครองที่รัฐบาลมอบอำจากให้ประชาชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งจัดการปกครองและดำเนินกิจการบางอย่าง โดยดำเนินการกันเองเพื่อบำบัดความต้องการของตน การบริหารงานของท้องถิ่นมีการจัดเป็นองค์การมีหน้าที่ซึ่งประชาชนเลือกตั้งขันมาทั้งหมด หรือบางส่วน ทั้งนี้มีความเป็นอิสระในการบริหารงาน แต่รัฐบาลต้องควบคลุมด้วยวิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม จะปราศจากการควบคุมของรัฐได้ไม่เพราะการปกครองท้องถิ่นเป็นถิ่นเป็นสิ่งที่รัฐทำให้เกิดขึ้น
    องค์กรจำเป็นในการบริหารและการปกครองตนเอง องค์กรที่จำเป็นของท้องถิ่นจัดแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ องค์กรฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น การปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลจะมี คณะเทศมนตรีเป็นฝ่ายบริหาร และสภาเทศบาลเป็นผ่ายนิติบัญญัติ หรือในแบบมหานคร คือกรุงเทพมหานคร จะมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นฝ่ายบริหาร สภากรุงเทพมหานครจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น
    ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น จากแนวคิดที่ประชาชนในท้องถิ่นเท่านั้น ที่จะรู้ปัญหาและวิธีการแก้ไขของตนเองอย่างแท้จริง หน่วยงานการปกครองจึงจำเป็นต้องมีคนในท้องถิ่นในการบริหารงานเพื่อให้สมเจตนารมณ์ และความต้องการของชุมชน และอยู่ภายใต้การควบคุมของประชาชนในท้องถิ่น นอกจากนั้นยังเป็นการฝึกให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าใจในระบบและกลไกของประชาธิปไตยอย่างแท้จริง (อุทัย หิรัญโต, 2523 : 4)
    บรรณานุกรม
    ชูศักดิ์ เที่ยวตรง. การบริหารการปกครองท้องถิ่นของไทย. กรุงเทพ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2512.

     
  26. เนตรนภา คงคาวารี

    มิถุนายน 3, 2011 at 11:43 PM

    เนตรนภา คงคาวารี พัฒนาชุมชนรุ่น 34 เลขที่ 5027024016

    กิจกรรมที่ 4 วิชา การปกครองท้องถิ่นไทย
    การให้นิยามหรือความหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น มีนักวิชาการหรือนักคิดได้บัญญัติ คำว่า การปกครองท้องถิ่น ไว้หลายประการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้
    Encyclopedia Britannica (อ้างถึงใน พรชัย เทพปัญญา และคณะ, 2527, น. 1 ) ให้ความหมาย
    “การปกครองท้องถิ่น คือ อำนาจ หน้าที่ (authority) ที่จะกำหนด (determine) และการบริหารกิจการ (execute) ภายในเขตพื้นที่ที่กำหนด และขนาดพื้นที่ที่ว่านี้อยู่ภายในประเทศ และมีขนาดเล็กกว่าประเทศ”
    บรรณานุกรม
    พรชัย เทพปัญญา และคณะ. การปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : สัมพันธ์พาณิชย์, 2527.

    วิลเลียม วี ฮอลโลเวย์ ( William V. Holloway ) ( อ้างถึงใน ปธาน สุวรรณมงคล, 2547 น. 1-2)
    ให้ความหมาย ของการปกครองท้องถิ่นว่า “ เป็นองค์การที่มีอาณาเขตแน่นอนมีประชากรตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีอำนาจการปกครองตนเอง มีการบริหารการคลังของตนเอง และมีสภาท้องถิ่นที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้งจากประชาชน” สอดคล้องกับนักคิดอีกหลายท่าน อาทิ โจน เจ. คลาร์ก (John J. Clark) (1957, p. 87-89 )และแฮรีส จี. มอนตากู (Harris G. Mongtagu) (ชูวงศ์ ฉายะบุตร, 2539, น. 25) ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นไว้ว่า เป็นหน่วยการปกครองที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่หนึ่ง พื้นที่ใดโดยเฉพาะ โดยได้มีการเลือกตั้งโดยอิสระเพื่อเลือกผู้ที่มีหน้าที่บริหารการปกครองท้องถิ่น มีอำนาจอิสระพร้อมความรับผิดชอบ โดยปราศจากการควบคุมของหน่วยงานการบริหารราชการส่วนกลางหรือภูมิภาค แต่ทั้งนี้หน่วยการปกครองท้องถิ่นยังต้องอยู่ภายใต้บทบังคับว่าด้วยอำนาจสูงสุดของประเทศ ไม่ได้กลายเป็นรัฐอิสระใหม่แต่อย่างใด
    บรรณานุกรม
    ปธาน สุวรรณมงคล. การปกครองท้องถิ่นไทย ในบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
    พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2547.

    นักวิชาการไทยให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นไว้ในลักษณะที่ไม่แตกต่างกันนัก
    อาทิเช่น
    จรูญ สุภาพ ( 2531, น. 146 – 147 ) ให้ความหมายว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง หน่วยการปกครองซึ่งประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินกิจการอันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่นนั้นโดยเฉพาะ มักมีวัตถุประสงค์ไปในทางที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมปกครองตนเอง สามารถมีองค์การในทางปกครองที่จะช่วยสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่น ตลอดจนการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนในเขตการปกครองนั้นๆ

    ส่วนมากการปกครองท้องถิ่นมัจจะเป็นนิติบุคคลอาจประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่ราษฎรเลือกตั้งเข้ามาเพื่อปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลา โดยมีงบประมาณของตนเอง
    บรรณานุกรม
    จรูญ สุภาพ. สารานุกรมรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2531.

    นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ( 2547, น. 22 ) ให้ความหมายว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึงการปกครองซึ่งราชการส่วนกลางได้มอบอำนาจในการปกครองและบริหารการงานให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในขอบเขตอำนาจหน้าที่และพื้นที่ของตนที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย โดยมีความเป็นอิสระตามสมควรไม่ต้องอยู่ในบังคับบัญชาของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนกลางเป็นเพียงหน่วยคอยกำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินกิจการไปด้วยความเรียบร้อย หรืออีกนัยหนึ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การกระจายอำนาจของราชการส่วนกลางเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ได้ปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นอิสระต่างหากจากการปกครองของราชการส่วนกลาง ที่ให้อำนาจแก่ประชาชนในท้องถิ่นได้ปกครองตนเอง
    บรรณานุกรม
    นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยตรง : ข้อ
    พิจารณาเพื่อการปฏิรูปโดยองค์รวม. กรุงเทพฯ : เอกสารเผยแพร่ศูนย์ศึกษาการพัฒนา
    ประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2546.

     
  27. นายพิเชษฐ์ ช่ำชอง เอกพัฒนาชุมชน รุ่น 34 รหัส 5027024020

    มิถุนายน 4, 2011 at 12:30 AM

    อรวรรณ โอเนียว (2550:69) กล่าวว่า เมื่อหันมามองการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบล จะพบว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าเดิม การส่งเสริมให้ความรู้เข้าใจต่อบทบาทการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน นับได้ว่าเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนงานให้ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่บุคลากรนั้นคือ”ปลัดอบต.” คิดว่าทำงานภายในองค์กรที่เราทำอยู่งานทุกชิ้นหรือทุกเรื่องขององค์กรจะต้องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และจะต้องมีการสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชาสองทาง ซึ่งจะทำให้การทำงานในองค์กรเป็นแบบ ONE –STOP SERVICE อันจะทำงานในองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ ในนโยบายที่ถูกต้องของผู้บริหาร ในการทำงานหากผู้บังคับบัญชาไม่มีกฎเกณฑ์ที่ยึดเป็นหลักแล้ว ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมปฏิบัติงานให้ถูกต้องได้ยาก ดังนั้นผู้บังคับบัญชาต้องมีเกณฑ์ที่ยึดถือเป็นหลักในการทำงานเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติที่ออกมาทำได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องสร้างองค์ความรู้ตลอดจนการเข้าไปส่งเสริมและถ่ายทอดให้กับประชาชน ครอบคลุมทุกด้านเพื่อให้ประชาชนนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
    บรรณานุกรม
    อรวรรณ โอเนียว. (2550). ประชาคมท้องถิ่น ปีที่ 7 ฉบับที่ 79 ประจำเดือนกันยายน

    สุริยนต์ เริงทรัพย์ (2550:73-74) กล่าวว่า การแข่งขันย่อมที่จะมีสูงยิ่งตัวจริงเท่านั้นที่จะยืนอยู่ได้ สุริยนต์ เริงทรัพย์ นายกอบต.ปากกราน อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา ถือว่าเป็นตัวจริง งานหลักๆ ที่ต้องดำเนินการมีทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสังคม สำหรับชาวบ้าน อบต. ต้องให้การดูแล มีกลุ่มอาชีพอยู่ 2 กลุ่ม คือกลุ่มเจียระไนพลอย กลุ่มใยไผ่ฟอกตัว เป็นสินค้าโอทอป จึงเน้นการดูแลคุณภาพชีวิตให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน และมีเรื่องน่ายินดีที่ อบต.ปากกรานเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นเขตอุตสาหกรรม และก่อนที่จะดำเนินการอะไรได้มีการประชาคมและถามชาวบ้านทุกคนซึ่งทุกคนก็เห็นด้วย เพราะจะได้มีอาชีพ รายได้ และที่ทิ้งไม่ได้เลยก็คือเด็กและเยาวชน ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงในเรื่องยาเสพติด มีการอบรม ส่งเสริมการกีฬา เพื่อให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติด ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์และส่งเสริมความรักความสามัคคีกัน
    บรรณานุกรม
    สุริยนต์ เริงทรัพย์. (2550). ประชาคมท้องถิ่น ปีที่ 7 ฉบับที่ 79 ประจำเดือนกันยายน

     
  28. ฉัตพล รักษากิจ พช.34 เลขที่ 004

    มิถุนายน 4, 2011 at 9:48 AM

    1 รูปแบบของการปกครองท้องถิ่น
    การปกครองท้องถิ่น สามารถพิจารณาแบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
    1) มีความคิดความเชื่อและมีแนวทางการพิจารณาที่เห็นว่าการปกครองท้องถิ่นของทุก ประเทศมีความเป็นมาตั้งแต่สมัยโบราณ และอาจมีมานับตั้งแต่มนุษย์ได้ก่อตั้งสังคมการเมืองขึ้นในโลก เช่น มีมาตั้งแต่สมัยกรีก สมัยโรมัน หรือสมัยก่อนหน้านั้น และในกรณีของไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย หรือก่อนสมัยสุโขทัย เช่น การปกครองแบบหัวเมือง และระบบ เวียง วัง คลัง นา เป็นต้น แนวคิดนี้ เรียกได้ว่าเป็นความคิดแบบจารีตนิยม (Patrimonial / Traditionalist Perspective) เชื่อว่าการปกครองท้องถิ่นเป็นผลผลิตของการปกครองมาแต่โบราณ และเน้นรูปแบบการปกครองแบบที่มีลักษณะไม่เป็นทางการ เกิดขึ้นและกระจายอยู่ในสังคมต่าง ๆ โดยที่การปกครองท้องถิ่นในรูปแบบนี้มีลักษณะเป็นการปกครองตนเอง (Self Government) ของบรรดาผู้นำ หรือของชุมชนต่าง ๆ ที่มีเครือข่ายความสัมพันธ์ต่อกัน
    2) การปกครองท้องถิ่นเป็นผลผลิตของรัฐสมัยใหม่ (Modern State) คือ ถือกำเนิดมาไม่นานมานี้ และจะมีพัฒนาการอย่างมากในห้วงเวลาที่ประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นสำคัญ แนวคิดนี้เป็นแนวคิดของสำนักสมัยใหม่นิยม (Modernist Perspective) เห็นว่า การปกครองท้องถิ่นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเกิดรัฐสมัยใหม่ขึ้นแล้วนั้น จะมุ่งสนใจถึงบทบาทของรัฐว่าเป็นองค์กรที่มีอำนาจทางการเมืองสูงสุด และเป็นผู้จัดให้มีการปกครองท้องถิ่นเกิดขึ้น
    สำหรับการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบที่เป็นทางการ (Formal Institution) เรียกกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นการปกครองท้องถิ่น (Local Self Government) มีลักษณะเด่น ๆ คือ รัฐให้การรับรอง ซึ่งการรับรองดังกล่าวอาจเขียนไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศ หรือตราไว้ในพระราชบัญญัติก็ได้ การรับรองโดยรัฐดังกล่าวส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีฐานะเป็นนิติบุคคล (Juristic Person) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ การกระจายอำนาจทางการบริหาร (Administrative Decentralization) การกระจายอำนาจทางการเมือง (PoliticalDecentralization) และ การกระจายอำนาจทางการคลัง (Fiscal Decentralization)
    การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะเป็นทางการ และเป็นการปกครองตนเองของประชาชน ย่อมมีผลสำคัญต่อการก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่น ตลอดจนถึงสมาชิกสภาของท้องถิ่น เช่น มีการเลือกตั้งทั่วไป มีการกำหนดวาระในการดำรงตำแหน่ง การกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ การพ้นจากตำแหน่ง และการถูกตรวจสอบทางการเมืองและการบริหารองค์กรทั้งโดยส่วนขององค์กรภายใน และโดยองค์กรภายนอก
    ในส่วนของการปกครองท้องถิ่นแบบไม่เป็นทางการ (Informal Institution) เป็นการปกครองตนเอง (Self Government) หรือเรียกว่า การเมืองชุมชนแบบธรรมชาติ (Nature หรือ Community Politics) มีลักษณะสำคัญขึ้นกับโครงสร้างอำนาจทางการเมืองของชุมชนนั้น ๆ เอง ว่าเป็นชนเผ่าหรือเป็นกลุ่มภาษาวัฒนธรรมใด มีวัฒนธรรมการรวมกลุ่ม มีการนับญาติ มีการประกอบอาชีพการงาน มีระบบการกระจายความมั่งคั่ง มีโครงสร้างทางชนชั้น มีกลุ่มสถานภาพและมีลักษณะของผู้นำ ในลักษณะใด
    เนื่องด้วยเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ การก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งของผู้นำ การใช้อำนาจของผู้นำ และการพ้นจากตำแหน่งของผู้นำ จึงมักไม่มีกฎที่มีความชัดเจนแน่นอนว่าเป็นเมื่อใดและในลักษณะใดการแบ่งแยกการปกครองท้องถิ่นออกเป็นรูปแบบที่เป็นทางการ และรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเป็นสำคัญ ไม่ได้มีความหมายว่าในโลกความเป็นจริงมีการแบ่งออกเป็น 2 แบบอย่างเด็ดขาด ทุกสังคมการเมือง รวมทั้งประเทศไทยด้วยนั้น ปรากฏว่ามีทั้งการปกครองท้องถิ่นทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการดำรงอยู่ ควบคู่กันภายในชุมชนทางการเมือง มีลักษณะเป็นหน่วยทางการเมืองที่เป็นตัวของตัวเอง (Political Entity) หนึ่ง ๆ เรียกกันว่า ระบบการเมือง (Political System) หรือ ระบอบการเมือง (Political Regime) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดรูปแบบการปกครองภายในระบบของตน กล่าวคือ จะต้องมีการกำหนดและจัดสรรอำนาจทางการเมืองการปกครองว่าจะให้องค์กรหรือ สถาบันใดเป็นผู้ใดมีอำนาจ อีกทั้งอำนาจดังกล่าวถูกใช้โดยองค์กรเดียวหรือหลายองค์กร จากกรอบความคิดนี้จึงเป็นที่มาของแนวคิดในเรื่องการรวมอำนาจ (Centralization) และการกระจายอำนาจ (Decentralization) ซึ่งถูกใช้ในการจัดรูปแบบทางการปกครอง (Form of Government) ภายในระบอบการเมือง

    แหล่งที่มาของข้อมูล :
    นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. ทิศทางการปกครองท้องถิ่นไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2546.

     
  29. นส.หงส์รัตน์ จันทวงษ์

    มิถุนายน 4, 2011 at 11:22 AM

    โกวิทย์ พวงงาม และอลงกรณ์ อรรคแสง (2547,น.7) กล่าวคือ องค์กรปกครองท้องถิ่นไทย หมายถึง องค์กรทำหน้าที่บริหารงานแต่ละท้องถิ่น มีผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในท้องถิ่น เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานมีอิสระ ในเขตพื้นที่ ที่กำหนด มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงาน การเงิน การคลัง และกำหนดนโยบายของ ตนเอง รวมทั้งหน้าที่ดำเนินกิจกรรม ภายในกรอบที่กฎหมายไว้ เพื่อประโยชน์ ของรัฐและประชาชน ในท้องถิ่น โดยองค์ดังกล่าว ในกรณีประเทศไทย ได้แก่ อบจ.,เทศบาล,อบต.,พัทยา, และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
    บรรณานุกรม
    โกวิทย์ พวงงาม สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบ
    การปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 4 เรื่ององค์กรบริหารส่วนตำบล นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2547

    นอกจากนี้ ปธาน สุวรรณมงคล ( 2547, น, 4-5) กล่าวถึง ลักษณะสำคัญการปกครองท้องถิ่น ดังนี้
    1.เป็นนิติบุคคล
    2.มีอำนาจหน้าที่เฉพาะ
    3.ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง
    4.ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง
    5.มีความเป็นอิสระในการบริหารอย่างเพียงพอ
    6.มีอำนาจในการจัดหารายได้
    7.มีการกำกับดูแลจากรัฐ
    บรรณานุกรม
    ปธาน สุวรรณมงคล การปกครองท้องถิ่นไทย ในบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
    พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.2547

     

ส่งความเห็นที่ ฉัตรชัย ยกเลิกการตอบ